คุยกันก่อนนะครับ

คุยกันก่อนนะครับ
5 ก.พ. 2560

รูปแบบประเภทของเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่สามารถนำมาใช้ในการจัดการศึกษา

0 ความคิดเห็น
 
Social Network คือ สังคมการติดต่อสื่อสารผ่านเทคโนโลยีเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Virtual Community โดยสมาชิกในกลุ่มหรือสังคมนั้นๆ ไม่จำเป็นต้องรู้จักตัวตนจริงๆ

เว็บไซต์ที่ให้บริการ Social Network Service (SNS) มีหลายแห่ง แต่ละแห่งได้พัฒนาเทคนิคของระบบ ให้ดูเด่น มีความน่าสนใจ เราสามารถนำ SNS นี้ ใช้เป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนความรู้และทำงานร่วมกันได้


กลุ่มหลักๆ ของ SNS เพื่อการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้แบ่งออกได้ดังนี้


1. กลุ่มเว็บไซต์เผยแพร่ “ตัวตน”
เว็บไซต์เหล่านี้ใช้สำหรับนำเสนอตัวตน และเผยแพร่เรื่องราวของตนเองทางอินเทอร์เน็ต หรือผู้ใช้สามารถเขียน blog สร้างอัลบั้มรูปของตัวเอง สร้างกลุ่มเพื่อนในห้องเรียน และสร้างเครือข่ายเพื่อการเรียนรู้ขึ้นมาได้



2. กลุ่มเว็บไซต์เผยแพร่ “ผลงาน”
เว็บไซต์ประเภทนี้จะเป็นที่สำหรับใช้ นำเสนอผลงานในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นวิดีโอ รูปภาพ หรือเสียง
อาทิ YouTube.com, Yahoo screen, Google VDO, Flickr.com, Multiply.com


3. กลุ่มเว็บไซต์ที่มีความสนใจตรงกัน
ลักษณะเป็น Online Bookmarking หรือ Social Bookmarking โดยทำ Bookmark เก็บไว้บนเว็บเพื่อแบ่งปันให้คนอื่นได้ทราบ ว่าเว็บไซต์ใดได้รับความนิยม น่าสนใจ โดยดูได้จากตัวเลขที่ถูก Bookmark เอาไว้จากสมาชิกคนอื่นๆ


4. กลุ่มเว็บไซต์ที่ใช้ทำงานร่วมกัน
เป็น SNS ที่เปิดให้สมาชิกทุกคนในกลุ่มเข้ามานำ เสนอข้อมูล ความคิดหรือต่อยอด เรื่องราวต่างๆ ได้ อาทิ  Wikipedia อนุญาตให้เข้ามาช่วยกันเขียน แก้ไข เพิ่มเติม บทความต่างๆ ได้ ทำให้เกิดเป็นสารานุกรมออนไลน์ขนาดใหญ่
Google Maps สร้างแผนที่ของตัวเอง แชร์แผนที่ให้คนอื่นได้ด้วย จึงทำให้มีสถานที่สำคัญ หรือสถานที่ต่างๆ พร้อมกับข้อมูลของสถานที่นั้นๆ ถูกปักหมุดเอาไว้



 


ปัจจุบันทั่วทุกมุมโลกเต็มไปด้วยข่าวสารข้อมูล  ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศส่งผลให้โลกมีการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว การเผยแพร่ การเข้าถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารทำได้มากยิ่งขึ้น รวดเร็วยิ่งขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นหัวใจสำคัญในการลดช่องว่าง ลดความแตกต่างในการรับรู้ อันเนื่องมาจากเหตุผลหรือข้อจำกัดต่างๆของบุคคลทุกระดับชั้นไม่ว่าจะร่ำรวยหรือยากจน ไม่ว่าสังคมเมือง สังคมชนบทสามารถเข้าถึงข้อมูล ข่าวสารได้เท่าเทียมกัน เทคโนโลยีสารสนเทศได้เปิดโอกาสที่เท่าเทียมกันให้บุคคลได้เรียนรู้จากหลายช่องทางและหลายรูปแบบ  ทำให้การเรียนรู้สามารถยืดหยุ่นทั้งเวลาและสถานที่   ตลอดจนสามารถเรียนรู้  และรับรู้ข้อมูลได้อย่างต่อเนื่องตามความสนใจของตนเอง   การเรียนรู้จะเกิดจากการจัดและการส่งเสริมการศึกษาผ่านช่องทาง ICT มีการนำเสนอความรู้หลากหลายรูปแบบ  หลากหลายวิธีการ  การแสวงหาความรู้จึงเกิดจากความพึงพอใจ ความต้องการของผู้เรียนรู้ ซึ่ง ICT โดยเฉพาะช่องทางเทคโนโลยีสารสนเทศสามารถตอบสนองกลไกการเข้าถึงแบบนี้ได้หลากหลายและยืดหยุ่นเต็มศักยภาพของผู้เรียนได้ดีที่สุด

Social media ที่นำมาใช้ใน Social Network ที่ได้รับความนิยมในขณะนี้
1. MySpace.com
2. FaceBook.com
3. Orkut.com
4. Hi5.com
5. Friendster.com
6. SkyRock.com
7. PerfSpot.com
8. Bebo.com
9. Google Plus
10. LINE
11. Blogger/WordPress

เรามาทำความรู้จักกับ Social media ที่มีผู้นิยมใช้สำหรับเป็นเครื่องมือสนับสนุนและจัดการศึกษาออนไลน์กัน ในโลกใบนี้กัน .

Line
เป็นอีก Application ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ได้ โดยสามารถนำความรู้มาแสดงผลที่ Timeline

การนำไปใช้งาน
สามารถใช้เป็นเครื่องมือประชาสัมพันธ์ ฐานการเรียนรู้ที่สร้างขึ้น Line แสดงผลผ่านเวอร์ชั่นบน PC และ Mobile Device
 
 
 


Google Plus
เป็นเว็บที่มีลักษณะการแสดงความเคลื่อนไหว การนำเสนอเรื่องราวของผู้สร้างเช่นเดียวกับ Facebook ไม่ว่าจะเป็นการเขียนข้อความ การ Upload ภาพ การตั้งกลุ่มทางสังคมด้วย Circle  และกำลังเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นด้วยเหตุผลที่ Google Plus สามารถเชื่อมโยงกับ Apps ของ Google ได้โดยตรง เข้าถึงส่วนบริหารจัดการเอกสารที่ Google Doc เข้าส่วนพื้นที่ที่จัดเก็บข้อมูลที่ Google Drive เข้ายังเว็บบล็อกบน Blogger ยังเชื่อมโยงกับมัลติมีเดีย วิดีโอแหล่งที่ใหญ่ที่สุดบน YouTube นอกจากนี้ Google Plus ยังมีระบบการแชท การส่งข้อความสั้นๆ มี Hangout สำหรับการ video chat ระบบการแชร์ที่ปลอดภัย ให้การดูแลปกป้องข้อมูลที่ดีเยี่ยม รวมถึงการพัฒนาระบบบริหารจัดการกลุ่มเพื่อนที่ดีใช้งานง่าย

การนำไปใช้งาน
สามารถใช้เป็นฐานประชาสัมพันธ์กิจกรรมการเรียนรู้ การเผยแพร่ข่าวสาร หัวข้อสาระเนื้อหาการเรียนรู้ ที่เชื่อมโยงจากเว็บไซต์ หรือจาก Blogger ได้โดยตรงมีความยืดหยุ่นต่อการแสดงผลได้ดีทั้งในแบบหน้าจอคอมพิวเตอร์ และบน Smartphone เช่นกัน

 
 
 

Blogger/WordPress
เป็นรูปแบบเว็บไซต์ประเภทหนึ่ง ซึ่งถูกเขียนขึ้นในลำดับที่เรียงตามเวลาในการเขียน ซึ่งจะแสดงข้อมูลที่เขียนล่าสุดไว้แรกสุด บล็อกโดยปกติจะประกอบด้วย ข้อความ ภาพ ลิงก์ ซึ่งบางครั้งจะรวมสื่อต่างๆ ไม่ว่า เพลง หรือวิดีโอในหลายรูปแบบได้ จุดที่แตกต่างของบล็อกกับเว็บไซต์โดยปกติคือ บล็อกจะเปิดให้ผู้เข้ามาอ่านข้อมูล สามารถแสดงความคิดเห็นต่อท้ายข้อความที่เจ้าของบล็อกเป็นคนเขียน ซึ่งทำให้ผู้เขียนสามารถได้ผลตอบกลับโดยทันที คำว่า "บล็อก" ยังใช้เป็นคำกริยาได้ซึ่งหมายถึง การเขียนบล็อก และผู้ที่เขียนบล็อกเป็นอาชีพก็จะถูกเรียกว่า "บล็อกเกอร์"


การนำไปใช้งาน
สามารถใช้เป็นฐานการเรียนรู้ การเผยแพร่ความรู้ได้โดยตรง มีความยืดหยุ่นต่อการแสดงผลได้ดีทั้งในแบบหน้าจอคอมพิวเตอร์ และบน Smartphone
นอกจากนี้ ยังมีผู้ให้บริการออนไลน์ในการสร้างบล็อกนอกเหนือจาก Blogger และ WordPress อาทิ GotoKnow, Bloggang, OKnation Blog เป็นต้น

 
 
 


YouTube
YouTube เป็นอีกเว็บไซต์ลักษณะเป็น Social media ที่ให้บริการสมาชิกผู้ใช้งานนำไฟล์วิดีทัศน์ขึ้นสู่ระบบเพื่อการเผยแพร่ การแลกเปลี่ยนแบ่งปัน เพื่อความบันเทิง เพื่อการเรียนรู้ โดยสมาชิกสามารถนำวิดีทัศน์ อัพโหลดขึ้นบนระบบ บริการให้คนอื่นดูได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ  ปัจจุบัน YouTube มีข้อมูลวิดีทัศน์หลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นคลิปภาพยนตร์สั้นๆ คลิปรายการโทรทัศน์ คลิปบทเรียน คลิปความรู้ต่างๆ หลากหลายหมวดหมู่


การนำไปใช้งาน
สามารถใช้เป็นฐานจัดเก็บไฟล์วิดีทัศน์ สื่อการเรียนการสอน หรือกิจกรรมประชาสัมพันธ์ต่างๆ แสดงผลได้ดีทั้งในแบบหน้าจอคอมพิวเตอร์ และบน Smartphone เช่นกัน

 
 
 


Facebook
เป็นเว็บที่มีลักษณะการแสดงความเคลื่อนไหว การนำเสนอเรื่องราวของผู้สร้าง ซึ่งผู้ใช้สร้างหน้าเว็บของตัวเอง และใส่ข้อมูลต่างๆ ตามต้องการ โดยระบบสามารถค้นหาผู้ใช้ที่มีความสนใจตรงกัน ส่วนประกอบหลัก คือส่วนของข้อมูลผู้ใช้ ส่วนแสดงจำนวนเพื่อนในกลุ่ม กิจกรรมที่สนใจ และพื้นที่สาธารณะ (ที่เรียกว่า wall) ซึ่งผู้เข้าเยี่ยมชมสามารถเขียนข้อความไว้ได้ นอกจากนี้ Facebook อนุญาตให้ผู้ใช้งานอัพโหลดรูป และให้ผู้ใช้ตั้งกลุ่มทางสังคม หรือแฟนคลับต่างๆ ได้ด้วย

การนำไปใช้งาน
สามารถใช้เป็นฐานประชาสัมพันธ์กิจกรรมการเรียนรู้ การเผยแพร่ข่าวสาร หัวข้อสาระเนื้อหาการเรียนรู้ ที่เชื่อมโยงจากเว็บไซต์ หรือจาก Blogger ของผู้สร้าง Facebook เป็นอีก Social media ที่มีความยืดหยุ่นต่อการแสดงผลได้ดีทั้งในแบบหน้าจอคอมพิวเตอร์ และบน Smartphone เช่นกัน



 จากด้านบน เป็น Social media ที่นิยมใช้อย่างมากในประเทศไทย นอกจากนี้ก็ยังมี Social media อื่นๆ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดหรือสนับสนุนงานการศึกษาได้ดี ได้แก่


Hi5
เป็นเว็บไซต์ที่เคยได้รับความนิยมสูงสุด ก่อตั้งปี 2002 โดยคุณ Ramu Yalamanchi ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่ง CEO ของ hi5 นั่นเอง  รูปแบบทั่วไปภายใน hi5 จะมีทั้งการโชว์รูปภาพ แสดงความเป็นตัวตน มีส่วนตกแต่งรูปภาพ , Skin ,Wallpaper , Cursor , ภาพเคลื่อนไหว...

 
My Space
Web Blog ที่ทาง msn ให้ผู้ที่ใช้ msn ได้เข้าไปใช้บริการกัน โดย My Space มีลักษณะ เฉพาะคล้ายๆ Dairy แต่จะมีความหลากหลายมากกว่า เพราะในบล็อก ผู้ที่เป็นเจ้าของเนื้อที่นั้น จะเป็นผู้ที่ดูแลเนื้อหา ว่า จะให้เป็นแนวไหน หรือว่าจะเป็นเนื้อเรื่องอะไร ซึ่งลักษณะเด่นแบบนี้จึงมีผู้นำเอา My Space มาทำเป็น Web Dairy กัน

Twitter
มีลักษณะเป็น  Micro-Blog ผู้ใช้งาน ส่งข้อความของตนเอง ให้เพื่อนๆ ที่ติดตามได้ทราบ และเราก็สามารถติดตามอ่านข้อความของเพื่อนได้ twitter ถือได้ว่าเป็น blog สั้นก็ได้ เพราะว่า twitter อนุญาตให้เขียนข้อความได้ครั้งละไม่เกิน 140 ตัวอักษร ซึ่งข้อความนี้เมื่อเขียนแล้วจะไปแสดงอยู่ในหน้า profile ของผู้เขียนนั่นเอง และจะทำการส่งข้อความนี้ไปยังสมาชิกที่ติดตามผู้เขียนคนนั้นอยู่ (follower) โดยอัตโนมัติ


Bebo
เครือข่ายทางสังคมที่น่าสนใจ ที่ถูกออกแบบมาดี โทนสีของเว็บไซต์ดูแล้วสบายตา ใช้งานง่าย มีการจัดระบบติดต่อผู้ใช้ได้ดี คนที่ไม่มีพื้นฐานทางคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งานได้ง่าย รูปร่างหน้าตาของบล็อกดูไม่รกหูรกตา รองรับการปรับแต่งได้หลากหลาย

แบบประเมินความพึงพอใจ

++ ความคิดเห็นจากเพื่อน Facebook

สาระ เนื้อหา เรื่องราว ที่ปรากฎอยู่ในบล็อกแห่งนี้ จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมผลงาน แนวคิด จากการศึกษาเรียนรู้ และประสบการณ์ในการทำงาน รวมถึงการนำมาจากแหล่งข้อมูลอื่น(ซึ่งจะแจ้ง links ต้นทาง) นำมาเผยแพร่ให้กับท่านที่สนใจ ผ่านช่องทางและเวทีบล็อกแห่งนี้ หากท่านต้องการที่จะแนะนำ หรือแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ในการจัดทำบล็อกความรู้นี้ ติดต่อพูดคุย(ฝากข้อความ) ได้นะครับ
ขอบคุณที่กรุณาเข้าเยี่ยมชม
mediathailand