คุยกันก่อนนะครับ

คุยกันก่อนนะครับ
21 ก.พ. 2559

ประเภทของบล็อก

0 ความคิดเห็น
 


    ในโลกของสังคมข่าวสารปัจจุบัน บล็อก เป็นอีกปัจจัยสำคัญของ Social network ที่มีอิทธิพลต่อวงการธุรกิจ วงการข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ หรือแม้กระทั่งแวดวงการศึกษา จะเห็นได้ว่าอัตราการเจริญเติบโตของบล็อกประเภทต่างๆไม่ว่าจะเป็นบล็อกส่วนตัว ไปจนถึงบล็อกขององค์กร/ธุรกิจ จะมีอัตราที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ถือได้ว่าเป็นการเกิดของ สังคมแห่งการแบ่งปัน ที่มีทั้งผู้ต้องการสาระเนื้อหา ผู้ที่เผยแพร่เนื้อหา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวหลากหลายประเภทหรือหลากหลายมุมมอง หรือชื่นชมผลงานส่วนตัวไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์ชีวิตต่างๆ ผลงานรูปภาพ งานกราฟิก งานมัลติมีเดียต่างๆ ไปจนถึงบล็อกขององค์กร / ธุรกิจ ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการโฆษณา ประชาสัมพันธ์


 
การสร้างบล็อกอาศัยวิธีการ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

1.สร้างจากโปรแกรมบล็อกหรือซอฟท์แวร์
บล็อกประเภทนี้ ผู้สร้างต้องทำการติดตั้งซอฟท์แวร์ที่มีให้ดาวน์โหลดบนอินเทอร์เน็ต มีทั้งให้ใช้งานฟรี และแบบเสียค่าบริการรายปี โปรแกรมที่นิยมใช้งานมากๆ ได้แก่ WordPress, Joomla, Mambo และ Lifetype เป็นต้น
 
2.สร้างจากเว็บไซต์ผู้ให้บริการออนไลน์
เป็นอีกประเภทที่มีผู้นิยทใช้งานมากที่สุด เนื่องด้วยใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยาก ทำงานค่อนช้างรวดเร็ว แบบนี้ ท่านต้องเป็นสมาชิกของเว็บไซต์ผู้ให้บริการก่อน ได้แก่ GotoKnow, Bloggang, OKnation Blog, WordPress/Windows Live หรือ Blogger  บล็อกฟรีที่ท่านกำลังอ่านแห่งนี้ของค่าย Google 


บล็อกมีกี่ประเภท
หากจะมีการแบ่งประเภทของบล็อกในปัจจุบัน ก็มีหลากหลายทฤษฎี หลากหลายแบบมีการแบ่งกลุ่ม ต่างๆกัน ซึ่งก็ไม่มีแบบไหนถูกหรือผิด
(1) เอาแบบกว้างๆ ก็เป็นการแบ่งประเภทตามลักษณะการเผยแพร่ อาทิ บล็อกส่วนตัว เฉพาะบันทึกเพื่อดู/อ่านเองหรือในครอบครัว กับบล็อกแบบสาธารณะ เผยแพร่ ต่อสังคมโลก ที่คนทั่วไป สามารถเข้าถึงข้อมูล อ่าน หรือ แสดงความคิดเห็นได้

(2) บางแห่ง แบ่งตามรูปแบบของเนื้อหาหรือกลุ่มสนใจ (การถ่ายภาพ การส่องนก การท่องเที่ยว การดำน้ำ การขับรถ การทำอาหาร....)

(3) บางแห่งก็แบ่งไปตามประเภทของเนื้อหาของสื่อ(สิ่งพิมพ์ เสียง วิดีโอ ภาพถ่าย งานกราฟิก) 

แต่ที่เห็นค่อนข้างชัดจะแบ่งไปตามประเภทของเนื้อหาหรือกลุ่มสนใจ เรามาดูกันว่า มีอะไรกันบ้าง
 ที่ WordPress.com ได้กำหนดประเภทของบล็อกไว้ ดังนี้

•Personal:
จัดเป็นหมวดหมู่ที่ค่อนข้างกว้างเป็นบล็อกที่นำเสนอด้านความคิดเห็น การบันทึก ในเรื่องต่างๆของผู้สร้างบล็อก ตามความชอบ อาจจะเน้นในด้านใดด้านหนึ่ง เช่น ด้านการเมือง, เพลง, ครอบครัว, ท่องเที่ยว, สุขภาพ และแนวคิด


•Business:
กลุ่มนี้ จะนิยมในซีกโลกตะวันตก เพื่อนำเสนอ แบ่งปันความรู้ หรือแนะนำอัตลักษณ์ด้านธุรกิจของบริษัท ด้านการเงิน การธนาคาร กฎหมาย การเล่นหุ้น รวมถึงการนำเสนอ การแนะนำให้กับลูกค้าหรือผู้สนใจทั่วไป


•Schools:
หมวดนี้อาจจะไม่ถือเป็น education นัก แต่จะมีจุดประสงค์หลักสำหรับใช้ในการจัดการศึกษา การทำห้องเรียนเสมือนที่ ครูผู้สอนและผู้เรียนสามารถมาเรียรู้ร่วมกัน หรือนำเสนอแนวคิด ระดมความคิดเห็น ตอบข้อสงสัยของผู้เรียน ซึ่งถือเป็นอีกวิธีการที่ดีสำหรับครูผู้สอนและผู้เรียนจะได้ทำงานร่วมกันในบล็อกนี้



•Non-profits:
เป็นบล็อกที่จัดทำขึ้นโดยหน่วยงาน องค์กร มูลนิธิการกุศลต่างๆ ที่ไม่มุ่งหวังทางการค้า หากำไรในการดำเนินการ ซึ่งบล็อกเหล่านี้ จะเป็นช่องทางในการระดมทุน การรวมตัวของกลุ่มคน กลุ่มชน เพื่อการสร้างสรรงานที่เป็นการกุศลในด้านต่างๆ 


•Politics:
แต่เดิมในบล็อกกลุ่มนี้ทางฝั่งซีกโลกตะวันตกจะใช้บล็อกสำหรับสนับสนุนกิจกรรมทางการเมือง อาทิ การติดต่อสื่อสาร การส่งข่าวสาร ความเคลือนไหว ผ่านบล็อก แต่ในปัจจุบัน หมายรวมถึงการนำเสนอเรื่องราว แนวคิด บทวิเคราะห์ บทวิจารณ์ด้านการเมืองโดยเฉพาะ


•Military:
บล็อกกิจการทหาร ถือกำเนิดจากที่ใช้เป็นเวทีในการบอกเล่ารายละเอียด การรายงานแบบไม่เป็นทางการ ในสิ่งต่างๆที่กองทหาร(ซีกโลกตะวันตก) ไปประจำการยังต่างแดน โดยจะรายงานสิ่งที่พวกเขาเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นในส่วนต่างๆของโลก นอกจากนี้ยังใช้เป็นอีกช่องทางในการติดต่อกับครอบครัวของพวกเขาด้วย


•Private:
บล็อกประเภทนี้ถือเป็นบล็อกอยู่ในวงแคบ เพื่อจุดประสงค์ในการจดบันทึกส่วนตัว หรือแบ่งปันในเรื่องเฉพาะกับกลุ่มของตน อาทิแบ่งปันภาพถ่าย วิดีทัศน์ หรือข้อมูลภายในครอบครัว, ภายในองค์กร ภายในบริษัท หรือสถานศึกษาเท่านั้น


 
 

•Sports:
เป็นอีกบล็อกที่นำเสนอเรื่องราวด้านกีฬา โดยเฉพาะ อาทิ สโมสรกีฬา ที่จะมีการนำเสนอนักกีฬาที่มีผู้นิยมชมชอบ เป็นแฟนกีฬาในสโมสรหรือเฉพาะตัวได้ติดต่อ หรือการแสดงออก การแสดงความรู้สึกของแฟนกีฬา ถึงตัวนักกีฬาโดยตรง


•How-to, tips and reviews:
เป็นอีกกลุ่มของบล็อกที่มีความหลากหลาย มีผู้ทำขึ้นมาเป็นจำนวนมาก เพื่อนำเสนอเรื่องราว เทคนิค เคล็ดลับ วิธีการส่วนตัว หรือรวบรวมมาบอกเล่า เผยแพร่ แบ่งปันประสบการณ์ ในเรื่องราวต่างๆ อาทิ ในกลุ่มไอที กลุ่มเครื่องยนต์ รถยนต์ การประกอบอาหาร เกม เพลง หนังสือ ภาพยนตร์ เป็นต้น




นอกจากนี้ยังรูปแบบการแบ่งประเภทของบล็อกในกฎเกณฑ์อื่นๆอีก ลองศึกษาดูนะครับ

http://www.profkrg.com/26-types-blog-posts
http://blogambitions.com/blogs-with-highest-searches/
http://www.socialmediaexaminer.com/12-types-of-blog-posts/

http://writetodone.com/the-7-types-of-blogger-which-one-are-you/
https://blog.leadpages.net/types-of-blogs/
http://www.socialmediaexaminer.com/12-types-of-blog-posts/
http://www.problogger.net/archives/2011/09/03/52-types-of-blog-posts-that-are-proven-to-work/

Readmore...

รู้จักเรื่องของบล็อก

0 ความคิดเห็น
 

 

รู้จักบล็อกกันก่อน
บล็อก ( blog) เป็นคำรวมมาจากคำว่า เว็บล็อก (weblog) เป็นรูปแบบเว็บไซต์ประเภทหนึ่ง ซึ่งถูกเขียนขึ้นในลำดับที่เรียงตามเวลาในการเขียน ซึ่งจะแสดงข้อมูลที่เขียนล่าสุดไว้แรกสุด บล็อกโดยปกติจะประกอบด้วย ข้อความ ภาพ ลิงก์ ซึ่งบางครั้งจะรวมสื่อต่างๆ ไม่ว่า เพลง หรือวิดีโอในหลายรูปแบบได้ จุดที่แตกต่างของบล็อกกับเว็บไซต์โดยปกติคือ บล็อกจะเปิดให้ผู้เข้ามาอ่านข้อมูล สามารถแสดงความคิดเห็นต่อท้ายข้อความที่เจ้าของบล็อกเป็นคนเขียน ซึ่งทำให้ผู้เขียนสามารถได้ผลตอบกลับโดยทันที คำว่า "บล็อก" ยังใช้เป็นคำกริยาได้ซึ่งหมายถึง การเขียนบล็อก และนอกจากนี้ผู้ที่เขียนบล็อกเป็นอาชีพก็จะถูกเรียกว่า "บล็อกเกอร์"


สังคมบล็อก
สังคมบล็อก หมายถึง พื้นที่บนอินเตอร์เน็ท เพื่อให้ผู้ที่ต้องการนำเสนอบทความ สามารถแบ่งบัน เรื่องราว รูปภาพ รูปถ่าย อันส่งผลประโยชน์ แกผู้เข้ารับชม อันนี้คือสิ่งที่จำกัดความหมายของสังคมบล็อก ตั้งเป้าหมายไว้ โดยผู้ใช้ สามารถที่จะหา ผลประโยชน์จาก บทความที่ตนเอง เป็นผู้นำเสนอ โดยอาจจะมีการ นำเสนอโฆษณา พร้อมๆ กับการนำเสนอ บทความ แล้วแต่ความต้องการของผู้ใช้ อย่างอิสระ
อนึ่ง การใช้งานระบบสังคมบล็อก มีเนื้อหาของการนำเสนอ โดยจะต้องเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของ ผู้นำเสนอ ระหว่างผู้ใช้งานด้วยกัน ไม่อาจจะทำการสำเนา เอกสารดังกล่าวได้ เพียงแต่สามารถทำการลิงก์เชื่อมโยง เพื่อส่งผลโดยตรงต่อผู้ใช้งานทั่วไป ให้สามารถใช้งานระบบได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด

ความเป็นมาของบล็อก
ในความเป็นจริงแล้วบล็อกมีมาในช่วงยุคต้นๆของการมีเว็บไซต์เลยทีเดียว(ช่วงประมาณปี ค.ศ.1992) โดยบล็อกมีต้นตระกูลมาจากเว็บประเภทหนึ่งที่เรียกว่า  What’s New  ซึ่งในยุคแรกขณะนั้นยังมีเว็บไซต์จำนวนไม่มากนัก เจ้าหน้าที่ของสถาบันวิจัยนิวเคลียร์ภาคพื้นยุโรป (CERN) ได้เป็นผู้เริ่มสร้างเว็บสำหรับนำเสนอข่าวเกี่ยวกับวงการเว็บ รวมถึงแจ้งข่าวสารเว็บไซต์ที่เกิดใหม่ โดยทำในลักษณะเป็นลิงค์ชี้ไปยังเว็บไซต์นั้นๆ และมีคำอธิบายว่ามันคืออะไร มีอะไรน่าสนใจบ้าง จากนั้นก็มีผู้ทำ What’s New ในลักษณะต่างๆ มากมาย จนถึงปี ค.ศ.1997 นายจอร์น บาร์เกอร์ (Jorn Barger) เจ้าของเว็บไซต์ http://www.robotwisdom.com/ ซึ่งเป็นเว็บที่มีลักษณะเป็น บล็อก อาจกล่าวได้ว่าเป็นบล็อกรุ่นแรกๆ ก็ได้คิดคำว่า weblog ขึ้นมา


ต่อมาในปี ค.ศ.1999 ปีเตอร์ เมอร์โฮลซ์ (Peter Merholz) เจ้าของ http://www.peterme.com/ ประกาศว่า ต่อไปเขาจะอ่านคำว่า weblog ว่า “วี - บล็อก” และจะเรียกสั้น ๆ ว่า blog “บล็อก” เนื่องจากในยุคสมัยนั้น ยังมีคนใช้บล็อกจำนวนไม่มากนัก และความคิดนี้ ถือเป็นความคิดที่แปลกใหม่น่าสนใจ นับตั้งแต่นั้นมาจนถึงวันนี้ คำว่า บล็อก จึงกลายเป็นคำที่ได้รับความนิยมไปทั่ว และถูกใช้กันอย่างแพร่หลาย แม้ว่า weblog นั้นดูจะเป็นภาษาทางการมากกว่าคำว่า blog แต่ก็ยังมีผู้เรียกขาน weblog  อยู่เช่นกัน



ใน ปี ค..1999 เริ่มมีบริการช่วยสร้างบล็อกฟรี ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน ได้แก่ http://www.blogger.com/ (เวทีที่ท่านกำลังอ่าน) และ http://www.pitas.com/ ทั้งสองเว็บไซต์เปิดให้บริการแก่สมาชิก ซึ่งจะให้เครื่องมือในการlogger.comสร้างบล็อก โดยจะใช้งานเครื่องมือเหล่านี้ผ่านทางเว็บบราวเซอร์ หากใครที่มีพื้นที่จัดเก็บเว็บไซต์อยู่แล้ว ก็สามารถสร้างบล็อกแล้วนำบล็อกไปเก็บไว้ในพื้นที่จัดเก็บเว็บไซต์ของตนเองได้เลย หรือถ้าไม่มีพื้นที่เก็บเว็บไซต์ ก็สามารถฝากบล็อกไว้กับผู้ให้บริการได้อีกด้วย เมื่อมีเครื่องมือลักษณะนี้มาให้บริการ ทำให้การสร้างบล็อกเป็นเรื่องที่ง่ายมาก ๆ ผู้สร้างบล็อกเพียงแค่ใส่ข้อมูลอย่างเดียวและไม่จำเป็นต้องรู้เรื่องการสร้างเว็บก็ได้ เลยทำให้วงการบล็อกเป็นที่สนใจ และทำให้มีบล็อกใหม่ ๆ เนื้อหาที่หลากหลายเกิดขึ้นมากมาย
 

โดยปกติการสร้างบล็อก สามารถสร้างได้ง่ายผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ของผู้ให้บริการสร้าง Blog ฟรี ซึ่งจะมีเครื่องมือสนับสนุนให้ผู้สร้างเนื้อหาสามารถสร้างสรรงานเขียนได้อย่างง่ายและรวดเร็ว ปัจจุบันมีที่นิยมหลายแห่ง อาทิ http://www.blogger.com/ , http://www.wordpress.com/, เป็นต้น
สำหรับบ้านเราหก็นิยมสร้างบล็อกเป็นเครื่องมือช่วยในการประกอบธุรกิจ การค้าผ่านอิเล็กทรอนิกส์ การแลกเปลี่ยนความรู้ออนไลน์ การใช้เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลข่าวสาร อาทิ
http://bloggang.com/ http://www.oknation.net/blog/index.php และ http://gotoknow.org/

 


ลักษณะสำคัญของบล็อก
1. แสดงเนื้อหาเป็นชุด ๆ และแต่ละชุดมีวันที่ ที่บันทึกเนื้อหากำกับไว้อย่างชัดเจน

 
2. เรียงลำดับเนื้อหาตามวันที่ โดยข้อความใหม่ล่าสุดที่บันทึกเข้าไป จะถูกแสดงอยู่ด้านบนสุดของหน้าเว็บไซต์ ส่วนข้อความที่บันทึกเข้าไปก่อนหน้านั้น จะอยู่ถัดลงไปเรื่อย ๆ
 
3. มีการสะสมชุดเนื้อหาย้อนหลัง ผู้อ่านสามารถค้นหาตามวัน เดือน ปี (archive) หรือค้นหาจาก คำสำคัญ (tag) ได้
 
4. อาจอนุญาตให้ผู้อ่านสามารถแสดงความคิดเห็น (comment) ที่มีต่อเนื้อหาได้
 
5. อาจมีการจัดหมวดหมู่ของเนื้อหาออกเป็นกลุ่ม ๆ (category) เช่น บล็อกหนึ่ง ๆอาจไม่ได้มีเนื้อหาเพียงเรื่องเดียว เพราะเจ้าของบล็อกมีความสนใจในหลาย ๆ เรื่อง เพื่อให้สะดวกในการอ่าน จึงทำการแยกเป็นหลายหมวดหมู่ไว้ ตัวอย่างเช่น บันทึกประจำวัน, แนะนำเว็บ,วิเคราะห์ข่าว, วิจารณ์ภาพยนตร์ เป็นต้น
 
6. อาจมี RSS Feed เพื่อให้สะดวกในการติดตามการอัพเดทข้อมูลของบล็อกนั้น ๆและเพื่อความสะดวกในการอ่านบล็อกโดยที่ไม่ต้องเข้ามาอ่านที่บล็อกจริง ๆ
 


 
ประโยชน์ของบล็อก
ประโยชน์ของบล็อกมีมากมายหลายประการ อันได้แก่
 
1.เป็นสื่อโษณา ประชาสัมพันธ์
ถือได้ว่าบล็อคเป็นเว็บที่เจาะกลุ่มเป้าหมายของผู้คนที่ใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก การวางกลยุทธ์การตลาดในแวดวงธุรกิจไม่อาจพึ่งพาแค่ แผ่นพับ ใบปลิว หรือการลงโฆษณาตามหนังสือพิมพ์ การโฆษณาผ่านวิทยุ โทรทัศน์ ซึ่งช่องทางที่กล่าวนับวันยิ่งมีค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์สูง การใช้บล็อกเพื่อประชาสัมพันธ์ จึงเป็นอีกวิธีการที่มีค่าการลงทุนที่ต่ำ แต่สามารถส่งผลทางการตลาดที่สูงขึ้นได้ นอกจากนี้ในภาครัฐมีหลายแห่งที่ใช้บล็อกเป็นเครื่องมือ ช่องทางในการเผยแพร่ข่าวสารของหน่วยงานอีกทางหนึ่งด้วย
 
2. เป็นแหล่งให้ข้อมูลความรู้ เฉพาะเรื่อง
ปัจจุบันข่าวสารต่าง ๆ รวมถึงเทคโนโลยี มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก จนหนังสือหรือสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ล้าสมัย หรือไม่สามารถออกได้ทันตามความต้องการของผู้ที่สนใจ การใช้บล็อกเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการให้ข้อมูล ถือเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะว่าการสร้างบล็อก ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก และสามารถเขียนหรือปรับปรุงแก้ไขข้อความที่เขียนได้อย่างรวดเร็วง่ายดาย จึงมีผู้ที่มีความรู้หลายต่อหลายท่านใช้บล็อกเป็นที่เผยแพร่ความรู้ เช่น
 http://www.blognone.com/ (บล็อกที่นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ 
 http://www.oknation.net/blog/black (บล็อกวิเคราะห์ข่าวของคุณสุทธิชัย หยุ่น)

 
 
3. เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ปัจจุบันบล็อกถือเป็นช่องทางที่ใช้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้อีกทางหนึ่ง เพราะบล็อกส่วนใหญ่ มักจะอนุญาตให้ผู้อ่านแสดงความคิดเห็นของตนที่มีต่อข้อความในบล็อกนั้น ๆ ได้ ซึ่งอาจจะเป็นการให้คำแนะนำ หรือจะเป็นการแสดงความเห็นด้วย/ไม่เห็นด้วยกับข้อความในบล็อกนั้น ๆ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้เขียนบล็อกและผู้อ่านบล็อกสามารถทำให้เกิดเป็นสังคมย่อย ๆ ขึ้นมา
 
4. เป็นเวทีการเรียนรู้
นอกจากจะเป็นแหล่งข้อมูลเฉพาะเรื่องแล้ว สถานศึกษา หรือครู และบุคลากรทางการศึกษา ยังใช้บล็อก เป็นอีกกลไก หรือเครื่องมือในการเผยแพร่ความรู้เนื้อหา เพิ่มเติมจากหลักสูตร หรือเป้นเวทีสำหรับให้ลูกศิษย์เข้ามาแสดงความคิดเห็น หรือตอบคำถามต่างๆ

Readmore...
19 ก.พ. 2559

การเพิ่ม Code วัน เวลา ปฎิทิน ประดับในบล็อก (2)

0 ความคิดเห็น
 
หลังจากนำ Code Script เพื่อเพิ่ม วัน เวลา และปฎิทิน มาให้ได้แต่งเติมไปแล้ว ใน http://mediathailand-blogger.blogspot.com/2016/02/blogger-19-code-1.html ซึ่งจะเป็น Code script แบบ HTML5 ล้วนๆ เพราะแบบ Flash อาจจะไม่สามารถ แสดงข้อมูล ออกมาหรือ ไม่สมบูรณ์ โดยเฉพาะ Smartphone Android OS ได้ ในบทเรียนนี้ จึงแนะนำการใช้ภาษา code ที่เป็น HTML 5  มาใช้แทน ซึ่งเป็น code สำเร็จรูปเรียบง่าย แต่ ดูดี ก่อนอื่นหากท่านที่ยังไม่รู้วิธีทำ ก็ขอทบทวนการติดตั้งกันอีกที ดังนี้

การสร้างงานต้องทำผ่าน แดชบอร์ด ตรงส่วน Layout หรือ รูปแบบ ซึ่งมีอยู่ใน Blogger เอง โดยมีวิธีการ ดำเนินการ ดังนี้

1.เปิด แดชบอร์ด ไปที่ Setting หรือส่วนการตั้งค่า

2.เลือกรายการ Layout หรือ รูปแบบ ที่ฝั่งซ้าย ดังภาพด้านล่าง เมื่อได้ Layout Page มาแล้ว ให้กำหนดตำแหน่งที่ท่านจะวาง ส่วนที่ใช้วาง code script

3. เมื่อกำหนดบริเวณได้แล้ว ให้คลิกเลือกรายการ Add a Gadget หรือ เพิ่ม Gadget ที่อยู่ในบริเวณนั้น ซึ่งจะเกิดหน้าต่าง Add a Gadget  เลือกหารายการ ที่ชื่อว่า HTML/Java Script  คลิกเลือกที่เครื่องหมาย +

 
4. จะเกิดกรอบหน้าต่างสำหรับวาง code script ดังภาพ
5. ทำการตั้งชื่อ และนำ code ที่ต้องการวางลงในพื้นที่เขียน script
 
6. คลิกปุ่ม บันทึก แล้วปิดหน้าต่างได้
 
7. ตรงตำแหน่งที่กำหนดไว้ ก็จะมีนาฬิการ หรือ ปฎิทิน แสดงผล ตามที่กำหนดไว้
 
 
 
หมายเหตุ :  หากต้องการแสดงผล ให้อยู่ตรงกลาง ให้เพิ่ม คำสั่ง Tag Center ลงไป
 

<center> ................ส่วนที่เป็น code script..................... </center>

 
 
 
ต่อไปนี้เรามาดูรูปแบบพร้อม Code คำสั่งในแต่ละแบบกัน เป็นชุดที่ 2
 
 


code ที่ใช้
< iframe style="overflow:hidden;border:0;margin:0;padding:0;width:170px;height:50px;"src="http://www.clocktag.com/html5/dt161.html"></iframe>

.................................................................
 




code ที่ใช้
< iframe style="overflow:hidden;border:0;margin:0;padding:0;width:170px;height:50px;" src="http://www.clocktag.com/html5/dt162.html"></iframe>

.................................................................




code ที่ใช้
< iframe style="overflow:hidden;border:0;margin:0;padding:0;width:170px;height:50px;" src="http://www.clocktag.com/html5/dt163.html"></iframe>

.................................................................





code ที่ใช้
< iframe style="overflow:hidden;border:0;margin:0;padding:0;width:190px;height:50px;" src="http://www.clocktag.com/html5/dt172.html"></iframe>

.................................................................






code ที่ใช้
< iframe style="overflow:hidden;border:0;margin:0;padding:0;width:190px;height:50px;" src="http://www.clocktag.com/html5/dt173.html"></iframe>

.................................................................





code ที่ใช้
< iframe style="overflow:hidden;border:0;margin:0;padding:0;width:100px;height:100px;" src="http://www.clocktag.com/html5/m192.html"></iframe>

.................................................................





code ที่ใช้
< iframe style="overflow:hidden;border:0;margin:0;padding:0;width:100px;height:100px;" src="http://www.clocktag.com/html5/m193.html"></iframe>

.................................................................






code ที่ใช้
< iframe style="overflow:hidden;border:0;margin:0;padding:0;width:100px;height:100px;" src="http://www.clocktag.com/html5/m196.html"></iframe>

.................................................................






code ที่ใช้
< iframe style="overflow:hidden;border:0;margin:0;padding:0;width:120px;height:120px;" src="http://www.clocktag.com/html5/t21.html"></iframe>

.................................................................





code ที่ใช้
< iframe style="overflow:hidden;border:0;margin:0;padding:0;width:120px;height:120px;" src="http://www.clocktag.com/html5/t22.html"></iframe>

.................................................................





code ที่ใช้
< iframe style="overflow:hidden;border:0;margin:0;padding:0;width:120px;height:120px;" src="http://www.clocktag.com/html5/t23.html"></iframe>

.................................................................





code ที่ใช้
< iframe style="overflow:hidden;border:0;margin:0;padding:0;width:120px;height:120px;" src="http://www.clocktag.com/html5/t12.html"></iframe>

.................................................................
 

code ที่ใช้
< iframe style="overflow:hidden;border:0;margin:0;padding:0;width:120px;height:120px;" src="http://www.clocktag.com/html5/t13.html"></iframe>

.................................................................





code ที่ใช้
< iframe style="overflow:hidden;border:0;margin:0;padding:0;width:120px;height:120px;" src="http://www.clocktag.com/html5/t11.html"></iframe>


.................................................................
ข้อควรระวัง
อย่านำ code นี้ ไปใช้ในหลายที่นัก เพราะ อาจจะทำให้การแสดงผล ช้าลง
Readmore...

การเพิ่ม code วัน เวลา ปฎิทิน ประดับในบล็อก (1)

0 ความคิดเห็น
 
 
วันนี้ นำเทคนิคพิเศษหนึ่งมาใช้ประดับให้บล็อกดูมีสีสันและมีเสน่ห์ นั้นคือการเพิ่มนาฬิกา และปฎิทิน ที่จริงแล้วมีสคริปคำสั่งที่แสดงผลได้ ทั้งแบบ HTML5 และ แบบ Flash แต่เนื่องจากในบาง Device สคริปที่มาจาก Flash อาจไม่สามารถแสดงข้อมูลโดยเฉพาะ Smartphone Android OS ได้ ในบทเรียนนี้ จึงแนะนำการใช้ภาษา code ที่เป็น HTML 5  มาใช้แทน ซึ่งเป็น code สำเร็จรูปเรียบง่าย แต่ ดูดี (เนื่องจากการนำ code script มาแสดงผลเป็นจำนวนมาก อาจส่งผลให้การแสดงผลบนบล็อกช้าลงจึงขอแบ่งออกเป็น 2 ชุด)

การสร้างงานต้องทำผ่าน แดชบอร์ด ตรงส่วน Layout หรือ รูปแบบ ซึ่งมีอยู่ใน Blogger เอง โดยมีวิธีการ ดำเนินการ ดังนี้

1.เปิด แดชบอร์ด ไปที่ Setting หรือส่วนการตั้งค่า

2.เลือกรายการ Layout หรือ รูปแบบ ที่ฝั่งซ้าย ดังภาพด้านล่าง เมื่อได้ Layout Page มาแล้ว ให้กำหนดตำแหน่งที่ท่านจะวาง ส่วนที่ใช้วาง code script


3. เมื่อกำหนดบริเวณได้แล้ว ให้คลิกเลือกรายการ Add a Gadget หรือ เพิ่ม Gadget ที่อยู่ในบริเวณนั้น ซึ่งจะเกิดหน้าต่าง Add a Gadget  เลือกหารายการ ที่ชื่อว่า HTML/Java Script  คลิกเลือกที่เครื่องหมาย +



 
4. จะเกิดกรอบหน้าต่างสำหรับวาง code script ดังภาพ

5. ทำการตั้งชื่อ และนำ code ที่ต้องการวางลงในพื้นที่เขียน script
 
6. คลิกปุ่ม บันทึก แล้วปิดหน้าต่างได้
 
7. ตรงตำแหน่งที่กำหนดไว้ ก็จะมีนาฬิการ หรือ ปฎิทิน แสดงผล ตามที่กำหนดไว้
 
 
 
หมายเหตุ :  หากต้องการแสดงผล ให้อยู่ตรงกลาง ให้เพิ่ม คำสั่ง Tag Center ลงไป
 

<center> ................ส่วนที่เป็น code script..................... </center>

 
 
ต่อไปนี้เรามาดูรูปแบบพร้อม Code คำสั่งในแต่ละแบบกัน
 
 




code ที่ใช้
<iframe style="overflow:hidden;border:0;margin:0;padding:0;width:175px;height:80px;"src="http://www.clocktag.com/html5/d171red1.html"></iframe>

.................................................................
 




code ที่ใช้
<iframe style="overflow:hidden;border:0;margin:0;padding:0;width:175px;height:80px;" src="http://www.clocktag.com/html5/d171black1.html"></iframe>

.................................................................




 
 
code ที่ใช้
<iframe style="overflow:hidden;border:0;margin:0;padding:0;width:175px;height:80px;" src="http://www.clocktag.com/html5/d171blue1.html"></iframe>

.................................................................
 
 

 
code ที่ใช้
<iframe style="overflow:hidden;border:0;margin:0;padding:0;width:270px;height:25px;" src="http://www.clocktag.com/html5/dt41.html"></iframe>

.................................................................


code ที่ใช้
<iframe style="overflow:hidden;border:0;margin:0;padding:0;width:130px;height:100px;" src="http://www.clocktag.com/html5/dt151.html"></iframe>

.................................................................
 
 

code ที่ใช้
<iframe style="overflow:hidden;border:0;margin:0;padding:0;width:130px;height:100px;" src="http://www.clocktag.com/html5/dt152.html"></iframe>

.................................................................




code ที่ใช้
<iframe style="overflow:hidden;border:0;margin:0;padding:0;width:165px;height:130px;" src="http://www.clocktag.com/html5/dt231.html"></iframe>

.................................................................
 



code ที่ใช้
<iframe style="overflow:hidden;border:0;margin:0;padding:0;width:165px;height:130px;" src="http://www.clocktag.com/html5/dt232.html"></iframe>

.................................................................
 
 

code ที่ใช้
<iframe style="overflow:hidden;border:0;margin:0;padding:0;width:165px;height:130px;" src="http://www.clocktag.com/html5/dt233.html"></iframe>

.................................................................
ข้อควรระวัง
อย่านำ code นี้ ไปใช้ในหลายที่นัก เพราะ อาจจะทำให้การแสดงผล ช้าลง

ดู Code Script ชุดที่ 2 ที่ http://mediathailand-blogger.blogspot.com/2016/02/blogger-20-code-2.html
Readmore...

การลบ Comment

0 ความคิดเห็น
 

ผู้ใช้งาน Blogger ในระยะยาวที่เปิดให้คนทั่วไปสามารถแสดงความคิดเห็นที่เรียกว่า comment  จะประสบปัญหาหนึ่งที่ส่งผลต่อการเผยแพร่ผลงาน นั่นคือ  comment ที่แฝงการโฆษณา หรือใช้ข้อความก่อกวน ซึ่งเราจะพบว่าข้อความเหล่านั้นไม่ระบุชื่อผู้ส่ง สิ่งเหล่านี้ เราอาจจะเรียกมันว่า SPAM ก็คงไม่ผิด หากมาทีละข้อความก็อาจจะลบได้ทางหน้าเนื้อหานั้นๆได้ แต่ถ้าเข้ามาเป็นจำนวนมาก การลบทีละข้อความ นับเป็นภาระที่หนัก และเกิดความรำคาญ ในบทความนี้ จะแนะนำให้ท่านสามารถเข้าถึง comment เหล่านั้น และเลือกลบข้อความต่างๆมากกว่า 1 รายการได้ เรามาดูวิธีการกัน

1.ไปที่หน้า Dashboard

 
2.ที่เมนูรายการด้านซ้าย คลิกเลือกรายการความคิดเห็น (Comments) จะพบรายการความคิดเห็นที่มีผู้โพสต์เข้ามา ให้ทำการคลิกเลือกที่ช่อง checkbox
 
 
3.ทำการคลิกที่ปุ่มลบ หรือหากคิดว่าสิ่งนั้นมาจากแหล่งก่อกวน ให้เลือกรายการ สแปม ได้เลย ระบบจะป้องกันการก่อกวนนี้จากเลข IP หรือชื่อของผู้ส่ง เป็นการถาวร
Readmore...

การเพิ่มแบบสอบถามจาก Google ลงในหน้าบล็อก

0 ความคิดเห็น
 
0 ความคิดเห็น

 

ปัจจุบันการใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในเกือบทุกวงการ ไม่ว่าภาคธุรกิจ การสร้างงานวิจัยต่างๆ หรือแม้กระทั่งวงการศึกษา สำหรับผู้ใช้ Application ภายใต้ร่มเงาของ Google ซึ่งรวมถึง Blogger ที่ท่านกำลังใช้งานอยู่ในขณะนี้ ก็สามารถใช้คำสั่ง เพื่อนำฟอร์มของแบบสอบถามที่ท่านสร้างไว้ผ่าน Google Drive ซึ่งอาจจะมีหลากหลายวิธีการ แต่ mediathailand นี้จะขอเสนอวิธีการหนึ่งที่ไม่ยาก โดยมีวิธีการ ดังนี้

1.ก่อนดำเนินการ ท่านต้องสร้างแบบสอบถามให้เรียบร้อยด้วย

2. เปิดหรือเลือกไฟล์แบบสอบถามที่ท่านสร้างไว้



3. ทำการคลิกที่ปุ่ม ส่งฟอร์ม  (สีฟ้า) ซึ่งจะเกิด หน้าต่างใหม่ซ้อนทับขึ้นมา ซึ่งจะมีรายละเอียด ของการนำไปใช้งานดังภาพข้างล่าง


ในกรอบวงรีที่แสดง คือ links ที่ท่านจะนำไปใช้งาน  ให้ทำการ copy ไว้ ทำการปิดโดยคลิกปุ่ม เสร็จสิ้น สีฟ้า ดังรูป

4.ไปที่เว็บ Blogger ที่ท่านเป็นสมาชิก เข้า Login ในฐานะผู้สร้างงาน


5. ไปที่หน้าควบคุมระบบบล็อกหรือที่เรียกว่าแดชบอร์ด (Dashboard) แล้วดูตรงส่วนควบคุมบล็อก (ซึ่งจะอยู่ด้านซ้ายมือ) คลิกเลือกรายการ ชื่อ รูปแบบ หรือ Layout


6. จะเกิดกลุ่มรายการ Gadget ค่าพื้นฐาน 28 รายการ ให้คลิกเลือกรายการ
HTML/จาวาสคริปต์ ดังภาพ


7. จะเกิดหน้าต่างเพื่อวางคำสั่ง ให้ตั้งชื่อ Gadget นี้ (ตามแต่จะตั้งแต่ให้สื่อความหมายด้วย) ในที่นี้ตั้งว่า แบบสอบถามความคิดเห็น

8. ทำการวาง Tag คำสั่งลงไป
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
<div class="separator" style="clear: both; text-align: center;">
<br /></div>
<div>
<iframe
frameborder="1"  name="text" scrolling="yes" src="http://goo.gl/forms/pngYJKxb1M" width="650" height="1000">
</iframe>
</div>

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------

เฉพาะสีแดง เป็นส่วนข้อความคำสั่งบังคับ
เฉพาะสีชมพู คือ link from ที่สร้างจาก Google ตามที่ท่านได้ copy ไว้
ส่วนสีนำเงินปรับตัวเลขได้
width=650 ความกว้างของแบบสอบถาม
height=1000 ความสูงของแบบสอบถาม
frameborder=1 กำหนดเลข 1 แสดงขอบ ไม่ให้แสดง เป็น 0
scrolling=yes กำหนดให้แสดงแถบ scroll bar ด้านข้าง  yes  แสดง  no ไม่แสดง

9. ลากวาง Gadget ตัวนี้ไปยังตำแหน่งที่ต้องการ (ส่วนใหญ่ก็จะไว้ท้ายหน้า)

ผลที่ปรากฎ ด้านล่าง


Readmore...

การกำหนดสิทธิ์ผู้อ่าน Blogger

0 ความคิดเห็น
 
การกำหนดสิทธิ์ผู้อ่าน Bloggerโดยปกติ ทุกคนสามารถเข้าอ่าน/ใช้งานบล็อกได้ แต่ในบางกรณี เราอาจต้องการจำกัดผู้ใช้ให้อยู่ในวงจำกัด เช่น เฉพาะในหมู่ผู้เขียน หรือ เฉพาะบุคคลที่ระบุ ก็สามารถทำได้ ดังนี้
1. เข้าไปที่ หน้าควบคุมระบบบล็อกหรือที่เรียกว่าแดชบอร์ด (Dashboard) ของ Blogger
2. เลือก การตั้งค่า (Setting) > พื้นฐาน (Basic)
3. ที่ส่วน Permissions เลือกที่รายการ ส่วนผู้อ่านบล็อก(Blog Readers)  คลิกที่ Edit



4. ซึ่งเมื่อคลิกแล้ว จะปรากฎส่วนขยาย ซึ่งมีค่าพื้นฐาน 3 เงื่อนไข คือ
   (1)  สาธารณะ (Public) สำหรับเผยแพร่ให้ผู้อ่านทั่วไป
   (2)  ส่วนตัว (Private - Only blog authors) เป็นรูปแบบส่วนตัวเฉพาะกลุ่มผู้เขียนบล็อกเท่านั้น และ
   (3)  ส่วนตัว (Private - Only these readers) เฉพาะผู้อ่านเหล่านี้เท่านั้น
         เงื่อนไขนี้ ถือเป็นระบบปิด ผู้สร้างต้องกำหนดอีเมล์ผู้อ่านปลายทางลงในช่อง
         เป็นการให้บริการในแบบสมาชิก หรือ แบบเจาะจงผู้รับ



(ดูแบบภาษาไทย)



4. เมื่อกำหนดเงื่อนไขผู้อ่านเสร็จแล้ว คลิกที่ ปุ่มบันทึกการเปลี่ยนแปลง (Save changes) ด้วย

Readmore...

แบบประเมินความพึงพอใจ

++ ความคิดเห็นจากเพื่อน Facebook

สาระ เนื้อหา เรื่องราว ที่ปรากฎอยู่ในบล็อกแห่งนี้ จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมผลงาน แนวคิด จากการศึกษาเรียนรู้ และประสบการณ์ในการทำงาน รวมถึงการนำมาจากแหล่งข้อมูลอื่น(ซึ่งจะแจ้ง links ต้นทาง) นำมาเผยแพร่ให้กับท่านที่สนใจ ผ่านช่องทางและเวทีบล็อกแห่งนี้ หากท่านต้องการที่จะแนะนำ หรือแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ในการจัดทำบล็อกความรู้นี้ ติดต่อพูดคุย(ฝากข้อความ) ได้นะครับ
ขอบคุณที่กรุณาเข้าเยี่ยมชม
mediathailand