1.แบบ Compose
ในแบบนี้ค่อนข้างทำงานคล้ายคลึงกับโปรแกรม Microsoft Word มีเครื่องมือที่จำเป็นต่อการใช้งาน มาพอสมควร ผู้สร้างเนื้อหาสามารถสร้างสรรงานได้ง่าย
มีส่วนประกอบในหน้าต่างทำงานดังนี้1. ช่องกำหนดหัวเรื่อง
2. ส่วนเลือกรูปแบบการสร้างเนื้อหา ระหว่าง Compost และ HTML ซึ่งสถานะปัจจุบัน อยู่ในโหมด Compose
3. เครื่องมือการ Undo Redo
4. รูปแบบฟอนต์ ตัวอักษร มี 7 รูปแบบ แนะนำใช้แบบอักษรเริ่มต้น
5. ขนาดตัวอักษร มี 5 ขนาด เล็กสุด ถึง ใหญ่สุด แนะนำใช้แบบปกติ
6. กำหนดคุณลักษณะของตัวอักษร หนา เอน ขีดเส้นใต้
7. กำหนดสีของตัวอักษร
8. กำหนดคุณลักษณะให้เกิด hilight ตัวอักษร ทำบทความให้อยู่กึ่งกลาง
9. ทำ Link ให้ข้อความ ซึ่ง Link ที่สร้างสามารถกำหนดได้ทั้งที่เป็น Link ของเว็บไซต์ และ
จดหมายอีเล็กทรอนิกส์
10. เพิ่มรูปภาพลงในบทความ โดยระบบจะให้เราอัพโหลดไฟล์รูปภาพจากเครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้น
สู่ระบบ และยังสามารถปรับขนาดและจัดรูปแบบให้อยู่ ซ้าย,กลาง,ขวา ได้
11. เพิ่มวิดีโอลงในบทความ ซึ่งท่านสามารถเพิ่มจากเครื่องคอมพิวเตอร์ จาก YouTube จาก
โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น
12. เป็นส่วนวาง Jump break สำหรับขึ้นบรรทัดใหม่
13. ทำบทความให้ชิดซ้าย อยู่กึ่งกลาง หรือชิดขวา
14. สำหรับใส่ลำดับข้อให้บทความ ซึ่งมีให้เลือกทั้งแบบตัวเลขและแบบ Bullet
15. ใส่ "," ให้กับข้อความที่ต้องการเน้นคำพูด
16. ส่วนกำหนดเงื่อไข ป้ายกำกับ หรือ Label ให้บทความ ศึกษาเพิ่มเติมเรื่องการเพิ่มหมวดหมู่
17. กำหนดวัน เวลา กำกับบทความ มีทั้งแบบตั้งค่าเอง และแบบอัตโนมัติ
18. ตำแหน่งและที่อยู่ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่สร้างบทความ
19. ส่วนกำหนดเงื่อนไขพิเศษ ให้กับบทความ
20. Update / Publish เป็นส่วนกำหนดสถานะของบทความว่าอยู่ในแบบออนไลน์(ปุ่มนี้จะอยู่ในสถานะ
Update) หรือเป็นต้นฉบับ (ปุ่มนี้จะแสดงเป็น Publish) ซึ่งจะทำงานสำพันธ์กับ /Save ในข้อ (21)
โดย Update / Publish ถือเป็นปุ่มสำหรับการปรับปรุงข้อมูลที่เราแก้ไข หรือสร้าง (คล้ายๆกับการ
save งาน)
21. เป็นส่วนกำหนดสลับสถานนะบทความที่สร้าง ระหว่างบทความออนไลน์ หรือ แค่เป็นฉบับร่าง
ซึ่งตรงปุ่มนี้ จะมี 2 สถานะ คือ Revert to Draft (ร่าง) / Save
22. Preview เป็นปุ่มสำหรับทดสอบการแสดงผล
23. ปิดกระดานสร้างเนื้อหา
หมายเหตุ
Blogger รุ่นปัจจุบัน มีการปรับปรุงรูปแบบการเขียนหน้าเอกสาร โดยเพิ่มลักษณะตัวเลือกเพื่อใช้แสดงผลเป็นลำดับ คือ ปกติ สำหรับเขียนเนื้อหา และขนาดพิเศษสำหรับการกำหนดเป็น ส่วนหัว หัวข้อย่อย และส่วนหัวย่อย
2.แบบ HTML
ในลักษณะนี้ผู้สร้างงานต้องมีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะพื้นความรู้ด้านภาษาคำสั่ง html (หากไม่มี ก็ไม่ต้องสนใจในข้อนี้) ซึ่งสามารถเข้าถึง ปรับแก้ เพิ่มเติมลักษณะพิเศษได้ค่อนข้างมากผ่านการใช้ภาษาคำสั่ง html
โดยในรูปแบบนี้ เครื่องมือจะเหลือเพียงไม่กี่รายการ ได้แก่
1. ชุดสลับโหมดระหว่าง Compost และ HTML ซึ่งสถานะปัจจุบัน อยู่ในโหมด HTML
2. ชุดกำหนดคุณลักษณะตัวอักษรหนา หรือ เอียง
3. เครื่องมือวาง links
4. เครื่องมือนำภาพเข้า
5. ส่วนใส่ "," ให้กับข้อความที่ต้องการเน้นคำพูด
นอกนั้นจะมีลักษณะใกล้เคียงกัน
แสดงความคิดเห็น