คุยกันก่อนนะครับ

คุยกันก่อนนะครับ
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ 3 การสร้างบล็อก แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ 3 การสร้างบล็อก แสดงบทความทั้งหมด
19 ก.พ. 2559

การลบ Comment

0 ความคิดเห็น
 

ผู้ใช้งาน Blogger ในระยะยาวที่เปิดให้คนทั่วไปสามารถแสดงความคิดเห็นที่เรียกว่า comment  จะประสบปัญหาหนึ่งที่ส่งผลต่อการเผยแพร่ผลงาน นั่นคือ  comment ที่แฝงการโฆษณา หรือใช้ข้อความก่อกวน ซึ่งเราจะพบว่าข้อความเหล่านั้นไม่ระบุชื่อผู้ส่ง สิ่งเหล่านี้ เราอาจจะเรียกมันว่า SPAM ก็คงไม่ผิด หากมาทีละข้อความก็อาจจะลบได้ทางหน้าเนื้อหานั้นๆได้ แต่ถ้าเข้ามาเป็นจำนวนมาก การลบทีละข้อความ นับเป็นภาระที่หนัก และเกิดความรำคาญ ในบทความนี้ จะแนะนำให้ท่านสามารถเข้าถึง comment เหล่านั้น และเลือกลบข้อความต่างๆมากกว่า 1 รายการได้ เรามาดูวิธีการกัน

1.ไปที่หน้า Dashboard

 
2.ที่เมนูรายการด้านซ้าย คลิกเลือกรายการความคิดเห็น (Comments) จะพบรายการความคิดเห็นที่มีผู้โพสต์เข้ามา ให้ทำการคลิกเลือกที่ช่อง checkbox
 
 
3.ทำการคลิกที่ปุ่มลบ หรือหากคิดว่าสิ่งนั้นมาจากแหล่งก่อกวน ให้เลือกรายการ สแปม ได้เลย ระบบจะป้องกันการก่อกวนนี้จากเลข IP หรือชื่อของผู้ส่ง เป็นการถาวร
Readmore...

การกำหนดสิทธิ์ผู้อ่าน Blogger

0 ความคิดเห็น
 
การกำหนดสิทธิ์ผู้อ่าน Bloggerโดยปกติ ทุกคนสามารถเข้าอ่าน/ใช้งานบล็อกได้ แต่ในบางกรณี เราอาจต้องการจำกัดผู้ใช้ให้อยู่ในวงจำกัด เช่น เฉพาะในหมู่ผู้เขียน หรือ เฉพาะบุคคลที่ระบุ ก็สามารถทำได้ ดังนี้
1. เข้าไปที่ หน้าควบคุมระบบบล็อกหรือที่เรียกว่าแดชบอร์ด (Dashboard) ของ Blogger
2. เลือก การตั้งค่า (Setting) > พื้นฐาน (Basic)
3. ที่ส่วน Permissions เลือกที่รายการ ส่วนผู้อ่านบล็อก(Blog Readers)  คลิกที่ Edit



4. ซึ่งเมื่อคลิกแล้ว จะปรากฎส่วนขยาย ซึ่งมีค่าพื้นฐาน 3 เงื่อนไข คือ
   (1)  สาธารณะ (Public) สำหรับเผยแพร่ให้ผู้อ่านทั่วไป
   (2)  ส่วนตัว (Private - Only blog authors) เป็นรูปแบบส่วนตัวเฉพาะกลุ่มผู้เขียนบล็อกเท่านั้น และ
   (3)  ส่วนตัว (Private - Only these readers) เฉพาะผู้อ่านเหล่านี้เท่านั้น
         เงื่อนไขนี้ ถือเป็นระบบปิด ผู้สร้างต้องกำหนดอีเมล์ผู้อ่านปลายทางลงในช่อง
         เป็นการให้บริการในแบบสมาชิก หรือ แบบเจาะจงผู้รับ



(ดูแบบภาษาไทย)



4. เมื่อกำหนดเงื่อนไขผู้อ่านเสร็จแล้ว คลิกที่ ปุ่มบันทึกการเปลี่ยนแปลง (Save changes) ด้วย

Readmore...

การกำหนดสิทธิการดูแลและการเขียนบทความของผู้ใช้งาน

0 ความคิดเห็น
 
จากการใช้งานตามสภาพจริง ผู้ใช้ Blogger แบ่งตามการใช้งานจะมีอยู่ 2 กลุ่ม คือ
1. ผู้จัดทำหรือผู้สร้างบล็อก และ
2. ผู้อ่านบล็อก
ซึ่งผู้ใช้งานแต่ละประเภท จะมีสิทธิ ในการเข้าถึงส่วนต่างๆของ Blogger ที่แตกต่างกัน และในแต่ละกลุ่ม ยังมีสิทธิในการเข้าถึงที่ไม่เท่ากันอีกด้วย ซึ่งผู้สร้างที่เป็นเจ้าของจริงๆนั้นสามารถกำหนดสิทธิ์ของผู้ใช้งานในแต่ละกลุ่มให้เป็นไปตามความต้องการของผู้จัดทำหรือผู้สร้างได้

สิทธิผู้จัดทำหรือผู้สร้างบล็อก
ผู้จัดทำหรือผู้สร้างบล็อก ในแต่ละบล็อก สามารถเพิ่มผู้ร่วมดูแล และผู้เขียน มีได้สูงสุด จำนวน 100 คน โดยแบ่งระดับ ออกเป็น 2 ประเภท คือ Admin (ผู้ดูแล) และ Author (ผู้เขียน)



การเพิ่มผู้เขียนบล็อก (Author)



1.เข้าไปที่ หน้าควบคุมระบบบล็อกหรือที่เรียกว่าแดชบอร์ด (Dashboard) ของ Blogger
2.เลือก การตั้งค่า (Setting) > พื้นฐาน (Basic)
3.ตรงส่วนผู้เขียนบล็อก (Blog Authors) คลิกเพิ่มผู้เขียน (Add authors)
4.พิมพ์อีเมล์ ของผู้ที่จะเชิญมาเป็นผู้เขียน สามารถพิมพ์ได้หลายชื่ออีเมล์ ถ้าพิมพ์หลายชื่ออีเมล์ แต่ละชื่อให้คั่นด้วยเครื่องหมายคอมม่า (,)


5.เมื่อพิมพ์อีเมล์ของผู้ที่เชิญในช่องเรียบร้อย คลิกที่ปุ่มเชิญผู้เขียน (Add Authors) Blogger จะส่งเมล์เชิญไปยังอีเมล์ที่ระบุไว้ ซึ่งสิทธิขั้นต้นจะเป็นเพียงผู้เขียน (Authors) โดยอัตโนมัติ


ซึ่งหลังจากตอบรับจะปรากฎข้อความแจ้งกลับมาทางระบบผ่านไปทางอีเมล์ของผู้ถูกเชิญ



6.เมื่อผู้ได้รับเชิญ เปิดเมล์ และทำการตอบรับคำเชิญ (Accept invitation) ก็จะปรากฏชื่อของบุคคลนั้น ในกรอบของผู้เขียนบล็อกในหน้าแดชบอร์ด (Dashboard) ของ Blogger ทันที



7.ถ้าผู้รับเชิญยังไม่มีบัญชี ของ Blogger จะต้องสมัครสมาชิกของ Blogger โดยทำตามขั้นตอนที่ระบุไว้ในอีเมล์

การเพิ่มผู้ดูแล (Admin)
ผู้จัดทำหรือผู้สร้างบล็อกคนแรก สามารถที่จะกำหนดฐานะบุคคลที่เชิญดการยกฐานะผู้เขียนให้เป็นผู้ดูแล ผู้ดูแลทุกคน มีสิทธิ์ยกฐานะผู้เขียนเป็นผู้ดูแล ซึ่งมีวิธีการ ดังนี้
1. ไปที่หน้าควบคุมระบบบล็อกหรือที่เรียกว่าแดชบอร์ด (Dashboard)
2. ไปที่ การตั้งค่า (Setting) > พื้นฐาน (Basic) > สิทธิ์ (Permission)
3. เลือกรายการเงื่อนไขทางขวามือ เพื่อทำการเปลี่ยนสิทธิ์ของผู้เขียนที่ต้องการยกฐานะเป็นผู้ดูแล จากผู้เขียน (Author) เป็นผู้ดูแลระบบ (Admin)

หมายเหตุ  ในฐานะ Admin ทุกคนท่านสามารถแก้ไข ยกเลิก เปลี่ยนแปลง หรือลบข้อมูลทุกๆด้านได้ ยกเว้น สิทธิเจ้าของบล็อก ดังนั้นการกระทำใดๆ ต้องระมัดระวังด้วย

Readmore...

การสมัคร Blogger ด้วยอีเมล์อื่นที่ไม่ใช่ Gmail

0 ความคิดเห็น
 
    ตลอดเวลาที่ผ่านมาผู้สมัครใช้งาน Blogger สามารถสมัครเพื่อสร้างบล็อกผ่านการใช้เมล์อื่นๆได้ แต่หลังจากที่ Blogger ได้เป็น Application ส่วนหนึ่งของ Google ไปแล้ว ทำให้ปัจจุบัน ผู้ใช้จะต้องใช้อีเมล์ของ Gmail โดยเฉพาะ

 
แต่ทราบไหมว่า เราสามารถสมัครใช้งานผ่านอีเมล์อื่นๆได้โดยเฉพาะเครือ Hotmail โดย เข้าที่ links นี้
https://accounts.google.com/SignUpWithoutGmail
 
Readmore...

การเลือกและติดตั้งธีม(Template) พิเศษ จากภายนอก

0 ความคิดเห็น
 
Template หรือ Theme นับเป็นอีกเสน่ห์ของ Blog  แม้ว่า Blogger จะมีรูปแบบให้บริการหลากหลายรูปแบบ ที่ผู้ใช้งานสามารถเลือกใช้ได้อย่างอิสระ ในหลายกลุ่ม อาทิ Simple, Dynamic Views, Picture Windows, Awesome Inc.,  Watermark, Ethereal และ Travel รวม  30 แบบ








นอกจากนี้ ยังอนุญาตให้ผู้ใช้ปรับแต่งเพิ่มเติมทั้งสีสันฉากหลังหรือ Background ปรับขนาดความกว้างของบล็อกที่ Adjust widths รวมถึงสภาพแวดล้อมต่างๆที่ Layout และลักษณะพิเศษอื่นๆ อีก





เพื่อให้เห็นกระบวนการดังกล่าว บทความนี้มีวิดีโอ สรุปกระบวนการ ดังกล่าว ดังนี้

 
แต่จากการที่ Blogger เป็นอีกบล็อกที่มีผู้นิยมใช้มาก ดังนั้นจึงมีผู้สร้างธีม หรือ Template ทั้งแบบต้องเสียค่าใช้จ่าย และแบบให้ใช้บริการฟรี  โดยจะขอแนะนำบางเว็บไซต์ อาทิ
 







 



 




 




 







 
ในการเลือกใช้ธีม(Template) เพื่อนำไปตกแต่งบล็อกที่ท่านสร้าง จากแหล่งบริการเหล่านี้ สิ่งสำคัญท่านต้องดูหมวดหรือกลุ่ม หรือประเภท ตามความเหมาะสมกับบล็อกของท่านด้วย สิ่งที่ต้องสังเกต ในการเลือกใช้ อาทิ
1.จำนวนคอลัมภ์ในหน้า(จะมี 1, 2, หรือ 3 คอลัมภ์)
2.ประเภทของแม่แบบที่ออกแบบไว้ เช่น กีฬา บันเทิง ท่องเที่ยว การศึกษา ธุรกิจ เทคโนโลยี เป็นต้น
3.สี และภาพรวม(interface) ของบล็อก
4.คุณลักษณะพิเศษเฉพาะ เช่น มีเมนูพิเศษ  มีการแสดงภาพพิเศษ เป็นต้น

การหาธีม
มีวิธีการดังนี้
1. ทำการดาวน์โหลดธีม(Template)จากเว็บไซต์ ตามที่ท่านเลือก
2. ทำการแตกไฟล์ ZIP เลือกไฟล์เฉพาะที่มีนามสกุล .xml

การติดตั้งธีม
มีวิธีการดังนี้
1. ไปส่วนกำหนด คลิกเลือกที่ Template




 
2. ไปที่ปุ่ม Backup/Restore (สำรอง / กู้คืน) ทำการคลิก จะปรากฏหน้าต่างดังภาพด้านล่าง





3. คลิกเลือกที่ปุ่ม Browse เพื่อไปยังแหล่งที่เก็บไฟล์ที่ท่านดาวน์โหลดไว้

4. เลือกไฟล์ ซึ่งจะมีนามสกุล .xml ตามแหล่งที่เก็บ เลือกแล้วคลิกปุ่ม Open ดังภาพบน

5. จะกลับมาสู่หน้าต่าง Backup/Restore ให้ คลิกที่ปุ่ม Upload

6. หน้าบล็อกก็จะเปลี่ยนไปตามธีมที่ท่านต้องการ

 

Readmore...

การตั้งค่าแสดงความคิดเห็นเฉพาะบางบทความ

0 ความคิดเห็น
 
ถ้าไม่ต้องการให้มีกรอบข้อความแสดงความคิดเห็น ในแต่ละบทความ ในให้กำหนดบริเวณแถบด้านขวามือ จะมีตัวเลือกเกี่ยวกับความคิดเห็น ในส่วน การตั้งค่าโพสต์ > ตัวเลือก
ให้ตั้งค่าตามที่ต้องการ ดังนี้
  • อนุญาต หมายถึงให้มีกรอบแสดงความคิดเห็น ผู้อ่านสามารถแสดงความคิดเห็นไดเ
  • ไม่อนุญาต แสดงข้อมูลที่มีอยู่ หมายถึง ไม่แสดงกรอบแสดงความคิดเห็น แต่ถ้ามีการแสดงความคิดเห็นไว้ก่อนหน้านี้ จะนำความคิดเห็นที่เคยมีก่อนหน้านี้มาแสดง แต่จะไม่อนุญาตให้แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมได้
  • ไม่อนุญาต ซ่อนข้อมูลที่มีอยู่ หมายถึง ไม่แสดงกรอบความคิดเห็น และไม่แสดงข้อมูลความคิดเห็นใด ๆ ที่ได้เคยมีการแสดงไว้ก่อน


2. การจัดการกับความคิดเห็นของผู้อ่านที่เขียนขึ้นบล็อก

ในกรณีที่อนุญาตให้ผู้อ่านสามารถเขียนแสดงความคิดเห็นได้ ผู้เขียนบล็อกหรือผู้ดูแล สามารถจัดการความคิดเห็นได้ โดยมาที่แดชบอร์ด และคลิกที่ความคิดเห็น
    ในกรณีที่ไม่มีการกรองความคิดเห็น

    1. จะเห็นมี 2 ตัวเลือก คือ ความคิดเห็นที่เผยแพร่แล้ว และความคิดเห็นที่ระบบดักเอาไว้ไม่แสดงเนื่องจากเป็นสแปม
    2. ความคิดเห็นที่เผยแพร่แล้ว จะปรากฏให้สามารถจัดการได้
      • นำเนื้อหาออก: ลบความคิดเห็น แต่จะมีข้อความแสดงว่า ความคิดเห็นนี้ถูกผู้ดูแลระบบห้ามไม่ให้แสดง
      • ลบ: ลบความคิดเห็นโดยไม่ทิ้งร่องรอยใด ๆ
      • สแปม: แจ้งว่าเป็นความคิดเห็นที่ก่อกวน ระบบจะจัดการความคิดเห็นนี้ว่าเป็น สแปม

    ในกรณีที่มีการกลั่นกรองความคิดเห็น
    1.  ผู้ดูแลหรือผู้เขียน จะได้รับอีเมลพร้อมลิงค์ แสดงข้อความที่แสดงความคิดเห็น และตัวเลือกให้จัดการ เช่น อนุญาตให้แสดง ลบทิ้ง หรือกำหนดว่าเป็น สแปม
    2. เมื่อผู้เขียนเข้ามาที่ แดชบอร์ด เมื่อคลิกความคิดเห็น จะเห็นมีข้อความ "รอการกลั่นกรอง"
    3. เมื่อคลิก รอการกลั่นกรอง ทำให้สามารถจัดการกับความคิดเห็น คือ อนุญาตให้เผยแพร่ได้ หรือลบทิ้ง หรือ กำหนดว่าเป็นสแปม ไม่ต้องการให้แสดง
    Readmore...

    การบริหารและจัดการส่วนแสดงความคิดเห็น

    0 ความคิดเห็น
     
    การจัดการข้อคิดเห็น ส่วนแสดงความคิดเห็น หรือที่เรียกว่าการ Comments ของ บล็อก เจ้าของบล็อกสามารถกำหนดเงื่อนไขด้ใน 2 ลักษณะ คือ

    1. การกำหนดให้แสดงความคิดเห็นได้
    2. การจัดการกับความคิดเห็นของผู้อ่านที่เขียนขึ้นบล็อก
    1. การกำหนดให้แสดงความคิดเห็นได้

    ในบล็อก เราสามารถกำหนดให้มีกรอบข้อความสำหรับแสดงความคิดเห็น หรือไม่ ก็ได้ กรอบข้อความนี้ จะอยู่ต่อท้ายจากเนื้อหาของบล็อกในแต่ละเรื่องที่เปิดให้ผู้อ่านร่วมแสดงความคิดเห็นในเนื้อหานั้นๆ

    หากต้องการให้ผู้อ่านได้แสดงความคิดเห็น เรามาดูขั้นตอนในการสร้างกัน ซึ่งเมื่อสร้างแล้ว ในทุกบทความที่เขียนขึ้นจะเกิดกรอบเช่นนี้ติดท้ายทุกบทความ

    การตั้งค่าให้กับกรอบความคิดเห็นสำหรับทุกบทความ

    1.เปิด แดชบอร์ด ไปที่ Setting หรือส่วนการตั้งค่า
     
     

     2.ที่ Setting นี้จะปรากฎรายการย่อยให้คลิกรายการ Post and comments ซึ่งเป็นส่วนสำหรับโพสต์และความคิดเห็น จะปรากฎรายละเอียดตรงโซนกลาง ได้แก่ ส่วน Post  และส่วน Comment  ในที่นี้มาดูกันที่ส่วน Comment ก่อน

    3. ที่ Comment Location เป็นส่วนกำหนดสำหรับใช้แสดง การแสดงความคิดเห็น โดยมีตัวเลือก ดังนี้

                    Embedded                              ฝัง
                    Full Page                                เต็มหน้า
                    Popup window                       ช่องหน้าต่าง
                    Hide                                       ซ่อน


    ถ้าต้องการให้บทความแสดงให้เลือก Embedded (ฝัง)
    ถ้าไม่ต้องการให้บทความแสดงเลือก Hide (ซ่อน)


    โดยในส่วนของ Who can comment? หรือกำหนดผู้แสดงความคิดเห็น มีตัวเลือกให้กำหนดค่า ดังนี้
                    Anyone                                   เปิดให้กับทุกคน
                    Registered User                      ผู้ใช้ที่ลงทะเบียน
                    User With Google Accounts  เฉพาะผู้ใช้ที่มีบัญชีของ Google
                    Only member of blog             เฉพาะสมาชิกของบล็อกแห่งนี้


    และในส่วนของ Comment Moderation  จะเป็นส่วนตั้งค่าเงื่อนไขในการกลั่นกรองความคิดเห็น มีตัวเลือกให้กำหนดค่า ดังนี้
                    Alway                                     ทุกครั้งของการแสดงความคิดเห็น
                    Sometimes                              ทำการสุ่มเป็นบางครั้ง
                    Never                                      ไม่ต้องกลั่นกรอง




    ในส่วนของ Show Backlinks? เป็นส่วนกำหนดให้แสดงตนผู้ comment มี 2 ตัวเลือก คือ Show และ Hide

    ในส่วนของ Comment Form Message เป็นส่วนกำหนดข้อความแสดงสำหรับตอบกลับหรือชักชวนให้กับผู้ที่เข้ามา comment เรา โดยท่านสามารถพิมพ์ข้อความใดๆลงไปในช่องดังกล่าว ข้อความนี้ก็จะไปปรากฎในทุกๆหน้าของบล็อกโดยอัตโนมัติ
    Readmore...

    การพ่วงบล็อกอื่นๆเข้ามาแสดงผลร่วม

    0 ความคิดเห็น
     
    วันนี้จะนำเสนอเรื่องเล็กๆของบล็อกที่นับเป็นอีกเสน่ห์หนึ่งของ Blogger นั่นก็คือ การนำบล็อกเครือข่ายหรือเว็บไซต์เครือข่ายอื่น เข้ามาร่วมแสดงผลในบล็อก ซึ่งเมื่อนำเข้ามาก็จะแสดงชื่อบล็อก พร้อมเรื่องราวล่าสุดของบล็อกนั้นๆ ด้วยภาพลักษณะ Thump nail พร้อมเนื้อหานำเรื่องสั้นๆ (ดังภาพด้านขวาของบล็อกแห่งนี้)

    เรามาศึกษาวิธีทำกัน

    1.เริ่มวิธีทำโดยไปที่ หน้าควบคุมระบบบล็อก เลือกรายการ Layout ที่ฝั่งซ้าย ดังภาพด้านล่าง เมื่อได้ Layout Page มาแล้ว ให้กำหนดตำแหน่งที่ท่านจะวาง ส่วนที่ใช้วางรายการบล็อกเครือข่าย ซึ่งในที่นี้จะมีอยู่ 2 ตำแหน่ง คือ บริเวณด้านขวา และบริเวณด้านล่าง



    2.เมื่อกำหนดบริเวณได้แล้ว ให้คลิกเลือกรายการ Add a Gadget ที่อยู่ในบริเวณนั้น ซึ่งจะเกิดหน้าต่าง Add a Gadget เลือกหารายการ ที่ชื่อว่า Blog List คลิกเลือกที่เครื่องหมาย +


    3. เมื่อคลิกเลือกแล้วจะเกิดหน้าต่าง Configure Blog List (ดังภาพข้างล่าง) ซึ่งจะมีรายการให้ท่านใส่รายละเอียด  ดังนี้

    Title : เป็นส่วนสำหรับกำหนดชื่อ
    Sort : มี 2 ตัวเลือก คือ
                Most recently update :
                Alphabetically by blog title
    Show : All blogs
                    5 blogs
                  10 blogs
                  25 blogs
                  เลือกเอาว่าจะให้แสดงกี่บล็อก
     นอกจากนี้ยังมี check box ให้ท่านเลือกกำหนด เพื่อแสดงรายการ อาทิ
          Icon : แสดงไอคอน Blogger (ตัว B สีส้ม)
          Title of most recent item : ชื่อหัวข้อของรายการล่าสุด
          Snippet of most recent item  : แสดงตัวอย่างเนื้อหาของรายการล่าสุด
          Thumbnail of most recent item : รูปย่อของรายการล่าสุด
          Date of last update :  วันที่ปรับปรุงเนื้อหาครั้งล่าสุด


    4. ที่ บริเวณ Add to List  เป็นส่วนที่ใช้ในการดำเนินการนำบล็อกจากแหล่งอื่นเข้ามา เมื่อทำการคลิก จะเกิดหน้าต่างใหม่ ชื่อ Add to your blog list ดังภาพด้านล่าง

    ที่ช่อง Add by URL ให้ใส่ URL ของบล็อกที่ต้องการลงไป เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Add (สีส้ม)




     
    5. เมื่อคลิกปุ่ม Add แล้ว ก็จะปรากฏรายการของบล็อก ในบริเวณ Bloglist  ดังภาพด้านล่าง


    6. หากไม่ถูกต้องท่านสามารถ ลบ รายการนี้ได้โดยการคลิกปุ่ม remove 
    7.ในกรณีที่ต้องการเปลี่ยนชื่อรายการให้เหมาะสม ท่านก็สามารถแก้ไขได้ โดยมีวิธีการง่ายด้วยการคลิกที่ rename  ระบบก็จะเปิดหน้าต่างชื่อ Rename ดังภาพด้านล่าง
     
    เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Save ด้วย
    Readmore...

    วิธีจัดทำสารบัญหมวดหมู่

    0 ความคิดเห็น
     
    หากเราเป็นผู้มีเรื่องราวมากมาย และคิดว่าจะเผยแพร่เรื่องราวไว้บนบล็อกในหลากหลายเรื่อง ซึ่งเมื่อนานวัน รวมถึงมีเรื่องเพิ่มมากขึ้น สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นคือสาระเนื้อหา จะกระจัดกระจายไม่เป็นหมวดหมู่ ซึ่ง Blogger มีเครื่องมือสำหรับสร้างหมวดหมู่ หรือ Categories ไว้ให้ ซึ่งการสร้างหมวดหมู่ มีอยู่ 2 ขั้นตอนหลัก คือ
    1.       ขั้นติดตั้ง Gadget
    2.       ขั้นตอนกำหนด Labels (ป้ายกำกับ) กำกับใส่ในบทความ


    (1) ขั้นติดตั้ง Gadget
    ก่อนอื่นต้องนึกไว้ล่วงหน้าก่อนว่า จะให้ หมวดหมู่ หรือ Categories นี้อยู่ที่ตำแหน่งไหน ในที่นี้สมมุติว่า จะให้อยู่ใต้ รายการบทความ ดังตัวอย่าง


    เมื่อกำหนดได้แล้ว มาดูวิธีการดังนี้
    1. ไปที่หน้าบล็อกหลัก แล้วดูตรงส่วนควบคุมบล็อก (ซึ่งจะอยู่ด้านซ้ายมือ) คลิกเลือกรายการ ชื่อ Layout(รูปแบบ)

    2. จะเกิดผังแม่แบบเว็บของบล็อก  เลือก Zone หรือตำแหน่งที่จะวาง หมวดหมู่ หรือ Categories

    3.ดูที่แถบข้อความ(อักษรสีฟ้า) Add a Gadget (เพิ่ม Gadget) คลิกที่ข้อความดังกล่าว

    4.จะเกิดหน้าต่างที่ชื่อ Add a Gadget ที่ชื่อว่า Labels (ป้ายกำกับ)

    5. ตั้งค่าป้ายกำกับ ซึ่งใช้ค่าดั้งเดิม ก็น่าจะดีที่สุด สำหรับชื่อสามารถตั้งได้ตามใจชอบ เช่น หมวดหมู่ กลุ่มเนื้อหา หรือ Categories

    (ซึ่งตอนนี้แม้ติดตั้งแล้ว แต่ที่แถบเมนูของเราจะยังไม่ปรากฏรายการ)

    รายละเอียดในหน้าต่างการปรับแต่ง Labels
    จากหน้าต่างด้านบน จะมีส่วนปรับแต่ง อยู่ 4 ส่วน อธิบายอย่างย่อ ดังนี้
    1.
    Title
    (หัวข้อ) สำหรับตั้งชื่อตามใจชอบ แต่ไม่ควรยาวนัก

    2.
    Show (แสดง) มี 2 เงื่อนไข คือ
        All Labels         แสดงทุกรายการที่ป้ายกำกับทั้งหมด
                   
    Selected Labels
    แสดงเฉพาะป้ายกำกับที่เลือก ซึ่งหากคลิกรายการนี้ จะมีส่วน
                                              กำหนดค่า
    การแสดงผลเพิ่มขึ้นมา

    3.
    Sorting
    (การเรียง) มี 2 เงื่อนไข คือ
                   
    Alphabetically
    เรียงตามลำดับตัวอักษร 
                   
    By Frequency เรียงตามลำดับความถีของการเข้าชม

    4.
    Display
    (การแสดงผล) มี 2 เงื่อนไขเช่นกัน คือ
                   
    List แสดงเป็นรายการ และ               
                    Cloud แสดงเป็นลำดับขนาดตัวอักษรของหมวดหมู่ ตามจำนวนรายการที่มีอยู่


    (2) ขั้นตอนกำหนด Labels (ป้ายกำกับ) กำกับใส่ในบทความ
     
    เป็นขั้นตอนในการกำหนดให้บทความของท่าน เข้ากลุ่มหมวดหมู่  มีวิธีการดังนี้
    1. ไปที่หน้าบล็อกหลัก แล้วดูตรงส่วนควบคุมบล็อก (ซึ่งจะอยู่ด้านซ้ายมือ) คลิกเลือกรายการ ชื่อ Post (บทความทั้งหมด)

    2. คลิกเลือกบทความที่ต้องการ
     
    3.มาดูทางมุมด้านขวา จะมีส่วนควบคุมที่ชื่อ Post settings (การตั้งค่าโพสต์)

    4.คลิกเลือกรายการ
    Labels
    (ป้ายกำกับ) จะเกิดกล่องข้อความ ให้ท่านพิมพ์ข้อความที่จะกำหนดเป็นกลุ่มหมวดหมู่ลงไป (หรืออาจจะเลือกกลุ่มที่ท่านได้กำหนดไว้แล้วก็ได้)
    หมายเหตุ  เราสามารถใส่
    Labels(ป้ายกำกับ) ให้กับบทความมากกว่า 1 ป้ายกำกับได้ ซึ่งจะคั่นแต่ละป้ายด้วยเครื่องหมายจุลภาค(,)

     
    5.เรียบร้อยคลิกที่ปุ่ม Done (เสร็จสิ้น)
     
    6.ที่หน้าแรกของบล็อก  ก็จะเกิดหมวดหมู่ของบทความที่เราตั้งชื่อไว้ในขั้นที่ 4 ปรากฏขึ้น


    หมายเหตุ
    1. Gadget ที่ชื่อ Labels นี้ท่านสามารถเพิ่มได้มากกว่า 1 ตำแหน่ง
    2.หาก Gadget ที่สร้างขึ้นนี้ ไม่ต้องการ ท่านสามารถเข้าไปยกเลิก โดยคลิกที่ปุ่ม Remove

     
    Readmore...

    การนำวิดีโอมาใช้บนบล็อก

    0 ความคิดเห็น
     
    ปัจจุบันการหาแหล่งหรือนำวิดีโอมาใช้งานบนบล็อกสามารถดำเนินการได้ 5 รูปแบบ
    1. Upload : ดำเนินการ Upload จากคอมพิวเตอร์หรือแหล่งเก็บ
    2. Form YouTube : การแทรกไฟล์วิดีโอจาก YouTube ทั่วไป
    3. Form YouTube videos : การแทรกไฟล์วิดีโอจากช่อง YouTube ที่เป็นสมาชิก
    4. Form your phone : การแทรกไฟล์วิดีโอจากโทรศัพท์ Smartphone
    5. Form your webcam : การแทรกไฟล์วิดีโอจากกล้องเว็บแคม
     


    ในที่นี้จะแนะนำเฉพาะ 2) การแทรกไฟล์วิดีโอจาก YouTube ทั่วไป  มีวิธีการดังนี้

    1. เลือกสร้างรายการบทความใหม่ หรือ จะแก้ไขเพิ่มเติมจากบทความเดิมที่มีอยู่
     ที่ตำแหน่งที่ต้องการวางไฟล์วิดีโอ ซึ่งตรงนี้ท่านต้องมีรายการวิดีโอ หรือ URL ของรายการวิดีโอแล้วด้วย

     
    2. คลิกเลือกที่รายการ Form YouTube
    3. ที่ช่อง Browse เลือกหา หรือนำ links URL รายการวิดีโอที่ได้พิมพ์วางในช่อง คลิกเพื่อนค้นหา



    4.ทำการตรวจสอบก่อนการวางโดยทำการคลิกที่กรอบไฟล์วิดีโอ

     





    5.หากถูกต้องคลิกที่ปุ่ม Select (สีฟ้า)
    6.ไฟล์วิดีโอที่เลือกก็จะปรากฏในพื้นที่  ที่ท่านต้องการ เสร็จแล้วกดปุ่มบันทึก และเผยแพร่ตามลำดับ
    Readmore...

    แบบประเมินความพึงพอใจ

    ++ ความคิดเห็นจากเพื่อน Facebook

    สาระ เนื้อหา เรื่องราว ที่ปรากฎอยู่ในบล็อกแห่งนี้ จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมผลงาน แนวคิด จากการศึกษาเรียนรู้ และประสบการณ์ในการทำงาน รวมถึงการนำมาจากแหล่งข้อมูลอื่น(ซึ่งจะแจ้ง links ต้นทาง) นำมาเผยแพร่ให้กับท่านที่สนใจ ผ่านช่องทางและเวทีบล็อกแห่งนี้ หากท่านต้องการที่จะแนะนำ หรือแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ในการจัดทำบล็อกความรู้นี้ ติดต่อพูดคุย(ฝากข้อความ) ได้นะครับ
    ขอบคุณที่กรุณาเข้าเยี่ยมชม
    mediathailand