คุยกันก่อนนะครับ

คุยกันก่อนนะครับ
23 ต.ค. 2559

การเพิ่ม Gadget เพื่อโชว์รูปจาก Instagram

0 ความคิดเห็น
 


Social network เป็นปัจจัยในการเชื่องโยงข่าวสาร การติดต่อสื่อสาร ซึ่ง Instagram ก็เป็นอีกหนึ่ง Social media ที่มีผู้ใช้อย่างแพร่หลาย เราสามารถนำภาพจากบัญชีที่ท่านใช้งานมาโชว์ในพื้นที่ของ Blogger ได้ง่ายๆ ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่ง Gadget ดีๆที่สมควรนำมาวาง ซึ่ง Gadget ตัวนี้เป็น code ที่สร้างจากภายนอก เรามาดูวิธีการทำกัน

1. ขั้นตอนแรกเข้าไปสร้าง Widget (Gadget) ที่เว็บไซต์  https://snapwidget.com/ ทำการสมัครสมาชิกก่อน โดยคลิกที่ Sign Up

 
 
2. สร้างบัญชีผู้ใช้ ด้วย อีเมล์ หรือบัญชี facebook ดำเนินการตามขั้นตอน
 
 
3. จะเกิดหน้าบัญชีผู้ใช้ ปิดส่วน Welcome.. ก่อน จะพบ ส่วน Create A New Widget ให้คลิก
 
 
 
4.  เลือกรายการ/ประเภท Widget ซึ่งมีหลายตัวเลือก ในที่นี้ เลือกเป็น Board 
 
 
5. คลิกเลือกที่ CREATE YOUR WIDGET
 
 
6. ขั้นตอนนี้ท่านต้องเข้าบัญชี Instagram ด้วย
 




ทำการคลิกปุ่ม Authorize เพื่อยอมรับและยืนยันความเป็นตัวตน

 
7. ท่านก็ จะได้ code คำสั่ง สำหรับสร้าง widget
 
 
8. ไปที่หน้า dashboard ของ blogger  กำหนดตำแหน่งเพื่อวาง Gadget  เลือกรายการ HTML/จาวาสคริปต์
 
 
9. เปิดหน้า แล้วนำ code ที่ได้ จากข้อ 7  นำมาวาง คลิกปุ่มบันทึก ได้เลย



 
ก็เป็นอันจบสำหรับ เทคนิควันนี้
 
Readmore...

เพิ่มความน่าสนใจด้วย Gadget : Featured Post หรือโพสต์เด่น

0 ความคิดเห็น
 
Blogger ได้เพิ่ม Gadget ใหม่อีกตัวที่น่าสนใจ สามารถประยุกต์ใช้ได้ ในหลายๆสถานการณ์ อาทิ การโฆษณา แนะนำ สาระบทความใหม่ หรือใช้ประชาสัมพันธ์งานกิจกรรม หรือแจ้งข่าวสาร กำหนดการ หรือ เลือกโปรโมตเนือหาที่มีความสำคัญ เรามาทำความรู้จัก Gadget ใหม่นี้กัน Gadget นี้ ชื่อว่า Featured Post หรือชื่อภาษาไทยเรียกว่า โพสต์เด่น ดังภาพด้านล่าง


การติดตั้ง
1. ไปที่หน้าควบคุมระบบบล็อกหรือแดชบอร์ด (Dashboard)

2.ที่เมนูรายการด้านซ้าย คลิกเลือกรายการรูปแบบ (Layout)  จะเกิดผังแม่แบบเว็บของบล็อก  ให้ท่านทำการเลือก Zone หรือตำแหน่งที่จะวาง Featured Post หรือ โพสต์เด่น

3.ดูที่แถบข้อความ(อักษรสีฟ้า)คำว่า Add a Gadget (เพิ่ม Gadget) คลิกที่ข้อความดังกล่าว จะเกิดหน้าต่างชื่อ เพิ่ม Gadget เลือกตรงส่วนพื้นฐาน



4.เลือกรายการที่ชื่อว่า Featured Post หรือ โพสต์เด่น


5. ทำการใส่รายละเอียดต่างๆ ดังนี้
ชื่อแกดเจ๊ต                 เป็นส่วนตั้งชื่อ ซึ่งชื่อนี้ จะปรากฏในหน้าบล็อก
ตัวอย่างข้อมูลโพสต์     สำหรับเลือกในการแสดงผล  มี 3 รายการ คือ
                                  แสดงชื่อโพสต์
                                  แสดงตัวอย่างข้อความ
                                  แสดงรูปภาพ
โพสต์แนะนำ               จะแสดงชื่อเรื่องที่ท่านเลือก
เลือกโพสต์เด่น            เป็นส่วนให้ท่านได้เลือกสาระเนื้อหา เรื่องราว จากกลุ่มเนื้อหาที่ท่านสร้าง
                                  โดยจะเลือกบางกลุ่ม หรือจากกลุ่มทั้งหมดซึ่งจะแสดงเป็นรายการเรื่องด้านล่างถัดลงไป

แสดงตัวอย่าง              เป็นส่วนแสดงผลเพื่อให้ท่านได้เห็นก่อนไปปรากฏในหน้าเว็บ

6. หากกำหนดเงื่อนไข รายละเอียด ตามที่ต้องการแล้ว ให้คลิกปุ่ม บันทึก ด้วย
7. ทำการคลิกปุ่ม บันทึกการจัดเรียงอีกครั้งด้วย
Readmore...
27 มี.ค. 2559

พัฒนาการการจัดการศึกษาออนไลน์ต่อการจัดการศึกษาตลอดชีวิตของ กศน. ปี 2559

0 ความคิดเห็น
 

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ถือได้ว่าเป็นกฎหมายด้านการศึกษาที่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและให้ข้อมูลอย่างกว้างขวาง  เพื่อกำหนดเนื้อหาสาระต่างๆ  เกี่ยวกับการจัดการศึกษาของประเทศ  ซึ่งส่งผลกระทบสำคัญในการเปลี่ยนแปลงการจัดการศึกษาของชาติอย่างมาก   นับตั้งแต่การกำหนดความมุ่งหมายของการศึกษา   ที่เน้นการพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย  จิตใจ   สติปัญญา   ความรู้   และคุณธรรม  (มาตรา  6)  การจัดการศึกษาโดยยึดหลักการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน  ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา (มาตรา 8) การกำหนดสิทธิและหน้าที่ทางการศึกษาของบุคคล บิดามารดา  ครอบครัว  ชุมชน  องค์กรรัฐ  องค์กรเอกชน   สถาบันต่างๆ ทางสังคม  (มาตรา 10 – มาตรา 14)  การกำหนดระบบการศึกษา   ซึ่งระบุไว้ว่ามี  3  รูปแบบ  คือการศึกษาในระบบและนอกระบบการศึกษา  และการศึกษาตามอัธยาศัย โดยให้มีการผสมผสานและการเทียบโอนผลการเรียนระหว่างรูปแบบเดียวกัน และต่างรูปแบบกันได้ 

ในการสร้างฐานความรู้โดยอาศัยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นตัวขับเคลื่อน ซึ่งในปัจจุบันนับได้ว่ามีความสำคัญ และมีความจำเป็นต่อวงการศึกษาเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ จากนโยบายการปฏิรูปการศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ที่ได้กำหนดยุทธศาสตร์เพื่อให้สถานศึกษาทุกแห่ง ส่งเสริม สนับสนุนเพื่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นกลไกในการจัดการศึกษา เพื่อก้าวไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ ที่จะตอบสนองให้ผู้เรียนและประชาชนทั่วไปได้เข้าถึงและใช้ประโยชน์เพื่อการเรียนรู้ การพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างทั่วถึง มีความเสมอภาคและมีประสิทธิภาพที่เท่าเทียมกัน ที่สำคัญจะเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งที่จะนำพาไปสู่การสร้างสังคมการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ปัจจุบันระบบการจัดการศึกษาแบบ e-learning ได้รับการยอมรับว่าเป็นกลไกสำคัญอีกระบบหนึ่งที่มีคุณลักษณะในการสนับสนุน ส่งเสริม ประสิทธิภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนได้อย่างอิสระ ช่วยให้เข้าถึงแหล่งความรู้ที่หลากหลาย ได้อย่างรวดเร็วและสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย นอกจากนี้ การจัดการศึกษารูปแบบ e-learning นี้ เป็นการสนองตอบแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นหลัก ผู้เรียนสามารถเข้าถึง ควบคุมกระบวนการเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง (Self-Directed Learning) กระตุ้นให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และแก้ปัญหาได้อย่างอิสระ เป็นการเรียน รู้ในลักษณะผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student-Centered Learning) ด้วยวิธีการที่หลากหลายสนองต่อกลไกการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ และสนับสนุนการเรียนรู้ที่มีมาตรฐานการศึกษาเดียวกัน เรียนรู้ได้ทุกเวลา เข้าถึงสาระเนื้อหาได้ในทุกสถานที่ (anyone-anywhere-anytime learning) โดยใช้กลไกของเทคโนโลยีสารสนเทศ


การส่งเสริมและจัดการศึกษายุคใหม่จะต้องพัฒนาคนให้มีความสามารถสร้างและใช้ข้อมูลข่าวสารให้เป็นอย่างถูกต้องและเป็นระบบ การพัฒนาครูผู้สอนให้สามารถนำสาระเนื้อหา หรือหลักสูตรที่มีอยู่นำมาพัฒนาให้เป็นวิธีการ หรือกระบวนการเรียนรู้ในรูปแบบของตนเองได้ ดังนั้นหน่วยงาน สถานศึกษา สังกัด กศน. ซึ่งมีเป้าหมายหลักในการส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาที่ครอบคลุมการจัดศึกษาให้กับกลุ่มคนที่หลากหลาย ในหลากหลายช่องทางไม่ว่าจะผ่านรายการวิทยุ รายการโทรทัศน์ สนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านห้องสมุดทั้งระดับจังหวัด ระดับอำเภอ รวมถึงการกระจายไปสู่ชุมชน จึงต้องเตรียมคนให้มีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับการจัดการศึกษาเพื่อปวงชนในทุกระดับให้ได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพ ต่อเนื่องตลอดชีวิต  ด้วยประสบการณ์อันยาวนาน สำนักงาน กศน. ที่มีโครงสร้างพื้นฐานเพื่อดำเนินการจัดการเรียนรู้รวมถึงแหล่งการเรียนรู้ที่อยู่ในความรับผิดชอบกระจายอยู่ทั่วประเทศ ตั้งแต่ระดับจังหวัดถึงหมู่บ้านไม่ว่าจะเป็น ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ห้องสมุดประชาชนระดับจังหวัด ระดับอำเภอ ศูนย์เรียนรู้อาชีพท้องถิ่น และศูนย์การเรียนชุมชนเกือบ 7,000 แห่ง ครอบคลุมทุกตำบลของประเทศ ด้วยศักยภาพของครู และบุคลากรทางการศึกษาสามรถดำเนินการจัดและส่งเสริมการเรียนรู้แก่ประชาชน มีความสามารถประสานงาน ทำงานร่วมกับชุมชน หน่วยงานและเครือข่ายได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญ หน่วยงาน กศน. เป็นอีกหน่วยงานของรัฐที่มีความพร้อมทั้งเครื่องมือ อุปกรณ์ ระบบเครือข่ายการสื่อสารและบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการถ่ายทอดความรู้ ทั้งสื่อวิทยุ สื่อโทรทัศน์ และเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หากจะมองถึงความพร้อมดังที่กล่าวมาแล้วก็นับได้ว่า หน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน กศน. มีต้นทุนต่อการขับเคลื่อนการดำเนินการจัดการศึกษานำไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ครอบคลุมเกือบทุกรูปแบบที่ดีที่สุด
แต่การจัดการศึกษาไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในระบบชั้นเรียน โลกของการศึกษาในปัจจุบันกว้างไกล ไร้ขอบเขต ผ่านกลไก กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งประสิทธิภาพโดยรวมของระบบการสื่อสาร เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และองค์ประกอบร่วมสามารถรองรับกระบวนการจัดการศึกษา การส่งเสริมการเรียนรู้ในรูปแบบ interactive และมัลติมีเดียได้เป็นอย่างดี  และภาพความเป็นจริงของการจัดและส่งเสริมการศึกษาในสังกัดสำนักงาน กศน. ในปัจจุบันยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก การใช้ศักยภาพช่องทางทางเทคโนโลยีสารสนเทศให้สอดคล้องกับพัฒนาการทางเทคโนโลยีด้านต่างๆที่เปลี่ยนไป นำมาจัดการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรมนั้น ดูเหมือนว่ายังทำได้ไม่เต็มที่นัก แม้ว่าจะยังมีกลุ่มคนที่ทำงานด้าน ICT ในสังกัด สำนักงาน กศน. อาทิ สถาบันการศึกษาทางไกล สถาบัน กศน.ภาคต่างๆ ทั้ง 5 ภาค สำนักงาน กศน.จังหวัด จะร่วมมือรวมกลุ่มเป็นทีมงาน เพื่อสร้างงาน สร้างฐานการเรียนรู้ รวมถึงการฝึกอบรมให้บุคลากรในเขตพื้นที่ ที่รับผิดชอบได้มีความรู้ มีทักษะ และความพร้อมที่จะขับเคลื่อนในการจัดการศึกษา หรือการส่งเสริมการเรียนรู้ด้วย ICT อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด   ระยะเวลา 10 กว่าปีที่ผ่านมา การขับเคลื่อนในการจัดการศึกษาด้วย ICT เป็นไปค่อนข้างช้า การฝึกอบรมบุคลากรในแต่ละปีมีจำนวนไม่มากพอ อีกทั้งขาดการติดตาม ขาดการส่งเสริมสนับสนุนอย่างจริงจัง จากการติดตามโดยผู้จัดการอบรมในระดับภาค พบว่า การสร้างงานโดยคนที่ผ่านการอบรม มีจำนวนน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ส่งผลให้หลักสูตร เนื้อหา สาระการเรียนรู้ ที่มีอยู่ในปัจจุบันยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ นอกจากนี้ การใช้งาน การเข้าถึงช่องทาง เส้นทางการศึกษาด้วยวิธีนี้ ก็ยังอยู่ในวงจำกัดเฉพาะบางสถานศึกษาเท่านั้น


       ในอดีต สำนักงาน กศน. เคยนำเอาเทคโนโลยี Social network รวมถึง Social media มาใช้งานอย่างหลากหลาย ทั้งแบบที่ให้ใช้งานฟรี แบบเช่าบริการ และแบบจ้างสร้างระบบ อาทิ Google Apps, GotoKnow, NFE Teamwork Solution, NFE Portal web (gnfe) และอื่นๆ แต่ปัจจุบันสถาบัน กศน.ภาค ได้นำเอา Social media มาใช้ในการสร้างฐานการเรียนรู้ รวมถึงการให้การอบรมพัฒนาบุคลากรให้กับหน่วยงานเครือข่ายในพื้นที่ของแต่ละภาค อาทิ Blogger, YouTube, Google Plus เป็นต้น


ปัจจัยที่ทำให้การจัดการศึกษาออนไลน์ของ กศน. เติบโตช้า อาทิ
1.ระยะเวลาการอบรมในแต่ละหลักสูตร น้อยเกินไป
2.ภาระงานในหน้าที่ของครูหรือบุคลากรทางการศึกษาที่มาเข้ารับการอบรม มีมาก
3.ผู้เข้ารับการอบรมขาดใจรักในการสร้างงาน
4.ผู้ผ่านการอบรม ไม่ทำการศึกษาเพิ่มเติม
5.หน่วยงาน สถานศึกษาที่จัดการฝึกอบรมไม่มีการฝึกอบรมฝึกทักษะเพิ่มเติมต่อเนื่อง
6.การสนับสนุนด้านงบประมาณ รวมถึงการให้ความสำคัญเชิงประจักษ์มีน้อย
7.สถานศึกษายังคงยึดติดกับรูปแบบการจัดการศึกษาแบบเดิม
8.เครื่องมือและอุปกรณ์ มีจำกัด และล้าสมัย
9.ขาดการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการเรียนรู้เชิงรุก
10.การกำหนดนโยบายด้านการจัดการศึกษาด้วยช่องทาง ICT ไม่ต่อเนื่อง
11.ครูและบุคลากรทางการศึกษาในระดับบริหารและระดับนโยบายหลายราย ยังเข้าใจบริบทของการศึกษาออนไลน์คลาดเคลื่อน



หากพิจารณาแผนภูมิหลักด้านบนที่ปรากฏใน ยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงานสำนักงาน กศน. ประจำปีงบประมาณ 2559 จะพบว่า สำนักงาน กศน.ได้กำหนด พันธกิจ ในการดำเนินการด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งปรากฏข้อความในข้อ 3 ใจความว่า ส่งเสริมและพัฒนาการนําเทคโนโลยีทางการศึกษา และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และกำหนดเป้าประสงค์ในข้อ 8 อย่างชัดเจนว่า น่วยงานและสถานศึกษาพัฒนาและนําสื่อ เทคโนโลยีทางการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาใช้ในการเพิ่มโอกาสและยกระดับคุณภาพในการจัดการเรียนรู้ รวมถึงให้ความสำคัญต่อการพัฒนาบุคลากรที่ระบุไว้ในข้อ 9 ว่า  บุคลากรของหน่วยงานและสถานศึกษาได้รับการพัฒนาเพื่อเพิ่มสมรรถนะในการปฏิบัติงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างทั่วถึง และหากไปมองถึงยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงาน สำนักงาน กศน. ก็ยังได้ให้ความสำคัญต่อการใช้ ICT เพื่อเป็นเครื่องมือ เป็นกลไกสำคัญในการจัดการศึกษา และส่งเสริมการเรียนรู้ ซึ่งปรากฏในยุทธศาสตร์ ที่ 1 และ 2 ดังนี้

ยุทธศาสตร์ที่ 1
พัฒนา กศน.ตําบลให้เป็นกลไกการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาและส่งเสริมภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษาเพื่อสร้างและกระจายโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิตในชุมชน
จุดเน้นการดําเนินงาน
1.2 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน กศน.ตําบล ให้มีความพร้อมเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอื่นที่เหมาะสมกับพื้นที่ เพื่อให้มีความพร้อมในการให้บริการการศึกษาและการเรียนรู้ที่เป็นไปตามความต้องการของประชาชนและชุมชน และสร้างโอกาสในการเรียนรู้ได้อย่างทั่วถึง

ยุทธศาสตร์ที่ 2
ลดความเหลื่อมล้ํา สร้างโอกาส และยกระดับคุณภาพการศึกษา
จุดเน้นการดําเนินงาน
2.3 ยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาและการเรียนรู้การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย “ปรับวิธีเรียน เปลี่ยนวิธีจัดการเรียนรู้” โดยการพัฒนาหลักสูตร การพัฒนาสื่อการพัฒนาสื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา การพัฒนาระบบ ICT การพัฒนาบุคลากรผู้เกี่ยวข้อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา การประเมินเทียบระดับการศึกษาการพัฒนาระบบการสะสมและเทียบโอนผลการเรียน และให้ความสําคัญกับการวิจัยเพื่อการพัฒนางานในรูปแบบต่างๆ

2.4 ใช้สื่อเทคโนโลยีทางการศึกษา และเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัยและเหมาะสมเป็นเครื่องมือในการสร้างและกระจายโอกาสทางการศึกษา อาทิการจัดการศึกษานอกระบบผ่านทีวีสาธารณะ (ติวเข้มเติมเต็มความรู้) ETV วิทยุกระจายเสียง Social Media ในรูปแบบต่างๆ Application บน Smart Phoneสื่อ Off line ตลอดจนส่งเสริมให้มีการสร้างองค์ความรู้ที่หลากหลายมีความถูกต้องและสอดคล้องกับความจําเป็นและความต้องการของกลุ่มเป้าหมายการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เสนอผ่านช่องทางดังกล่าว

      จากยุทธศาสตร์ปี 2559 ดังกล่าวหากย้อนมองถึงปีที่ผ่านมา ก็พบว่า ยังเป็นภารกิจต่อเนื่องที่ทำเป็นปกติ ความจริงจังที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนนั้น คงต้องรอดูผลการปฏิบัติงานทั้งในส่วนการกำกับ การติดตาม การบริหาร รวมถึงการปฏิบัติจริงในพื้นที่อย่างจริงจังเมื่อสิ้นสุดปีงบประมาณอีกครั้ง............

Readmore...
21 ก.พ. 2559

ประเภทของบล็อก

0 ความคิดเห็น
 


    ในโลกของสังคมข่าวสารปัจจุบัน บล็อก เป็นอีกปัจจัยสำคัญของ Social network ที่มีอิทธิพลต่อวงการธุรกิจ วงการข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ หรือแม้กระทั่งแวดวงการศึกษา จะเห็นได้ว่าอัตราการเจริญเติบโตของบล็อกประเภทต่างๆไม่ว่าจะเป็นบล็อกส่วนตัว ไปจนถึงบล็อกขององค์กร/ธุรกิจ จะมีอัตราที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ถือได้ว่าเป็นการเกิดของ สังคมแห่งการแบ่งปัน ที่มีทั้งผู้ต้องการสาระเนื้อหา ผู้ที่เผยแพร่เนื้อหา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวหลากหลายประเภทหรือหลากหลายมุมมอง หรือชื่นชมผลงานส่วนตัวไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์ชีวิตต่างๆ ผลงานรูปภาพ งานกราฟิก งานมัลติมีเดียต่างๆ ไปจนถึงบล็อกขององค์กร / ธุรกิจ ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการโฆษณา ประชาสัมพันธ์


 
การสร้างบล็อกอาศัยวิธีการ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

1.สร้างจากโปรแกรมบล็อกหรือซอฟท์แวร์
บล็อกประเภทนี้ ผู้สร้างต้องทำการติดตั้งซอฟท์แวร์ที่มีให้ดาวน์โหลดบนอินเทอร์เน็ต มีทั้งให้ใช้งานฟรี และแบบเสียค่าบริการรายปี โปรแกรมที่นิยมใช้งานมากๆ ได้แก่ WordPress, Joomla, Mambo และ Lifetype เป็นต้น
 
2.สร้างจากเว็บไซต์ผู้ให้บริการออนไลน์
เป็นอีกประเภทที่มีผู้นิยทใช้งานมากที่สุด เนื่องด้วยใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยาก ทำงานค่อนช้างรวดเร็ว แบบนี้ ท่านต้องเป็นสมาชิกของเว็บไซต์ผู้ให้บริการก่อน ได้แก่ GotoKnow, Bloggang, OKnation Blog, WordPress/Windows Live หรือ Blogger  บล็อกฟรีที่ท่านกำลังอ่านแห่งนี้ของค่าย Google 


บล็อกมีกี่ประเภท
หากจะมีการแบ่งประเภทของบล็อกในปัจจุบัน ก็มีหลากหลายทฤษฎี หลากหลายแบบมีการแบ่งกลุ่ม ต่างๆกัน ซึ่งก็ไม่มีแบบไหนถูกหรือผิด
(1) เอาแบบกว้างๆ ก็เป็นการแบ่งประเภทตามลักษณะการเผยแพร่ อาทิ บล็อกส่วนตัว เฉพาะบันทึกเพื่อดู/อ่านเองหรือในครอบครัว กับบล็อกแบบสาธารณะ เผยแพร่ ต่อสังคมโลก ที่คนทั่วไป สามารถเข้าถึงข้อมูล อ่าน หรือ แสดงความคิดเห็นได้

(2) บางแห่ง แบ่งตามรูปแบบของเนื้อหาหรือกลุ่มสนใจ (การถ่ายภาพ การส่องนก การท่องเที่ยว การดำน้ำ การขับรถ การทำอาหาร....)

(3) บางแห่งก็แบ่งไปตามประเภทของเนื้อหาของสื่อ(สิ่งพิมพ์ เสียง วิดีโอ ภาพถ่าย งานกราฟิก) 

แต่ที่เห็นค่อนข้างชัดจะแบ่งไปตามประเภทของเนื้อหาหรือกลุ่มสนใจ เรามาดูกันว่า มีอะไรกันบ้าง
 ที่ WordPress.com ได้กำหนดประเภทของบล็อกไว้ ดังนี้

•Personal:
จัดเป็นหมวดหมู่ที่ค่อนข้างกว้างเป็นบล็อกที่นำเสนอด้านความคิดเห็น การบันทึก ในเรื่องต่างๆของผู้สร้างบล็อก ตามความชอบ อาจจะเน้นในด้านใดด้านหนึ่ง เช่น ด้านการเมือง, เพลง, ครอบครัว, ท่องเที่ยว, สุขภาพ และแนวคิด


•Business:
กลุ่มนี้ จะนิยมในซีกโลกตะวันตก เพื่อนำเสนอ แบ่งปันความรู้ หรือแนะนำอัตลักษณ์ด้านธุรกิจของบริษัท ด้านการเงิน การธนาคาร กฎหมาย การเล่นหุ้น รวมถึงการนำเสนอ การแนะนำให้กับลูกค้าหรือผู้สนใจทั่วไป


•Schools:
หมวดนี้อาจจะไม่ถือเป็น education นัก แต่จะมีจุดประสงค์หลักสำหรับใช้ในการจัดการศึกษา การทำห้องเรียนเสมือนที่ ครูผู้สอนและผู้เรียนสามารถมาเรียรู้ร่วมกัน หรือนำเสนอแนวคิด ระดมความคิดเห็น ตอบข้อสงสัยของผู้เรียน ซึ่งถือเป็นอีกวิธีการที่ดีสำหรับครูผู้สอนและผู้เรียนจะได้ทำงานร่วมกันในบล็อกนี้



•Non-profits:
เป็นบล็อกที่จัดทำขึ้นโดยหน่วยงาน องค์กร มูลนิธิการกุศลต่างๆ ที่ไม่มุ่งหวังทางการค้า หากำไรในการดำเนินการ ซึ่งบล็อกเหล่านี้ จะเป็นช่องทางในการระดมทุน การรวมตัวของกลุ่มคน กลุ่มชน เพื่อการสร้างสรรงานที่เป็นการกุศลในด้านต่างๆ 


•Politics:
แต่เดิมในบล็อกกลุ่มนี้ทางฝั่งซีกโลกตะวันตกจะใช้บล็อกสำหรับสนับสนุนกิจกรรมทางการเมือง อาทิ การติดต่อสื่อสาร การส่งข่าวสาร ความเคลือนไหว ผ่านบล็อก แต่ในปัจจุบัน หมายรวมถึงการนำเสนอเรื่องราว แนวคิด บทวิเคราะห์ บทวิจารณ์ด้านการเมืองโดยเฉพาะ


•Military:
บล็อกกิจการทหาร ถือกำเนิดจากที่ใช้เป็นเวทีในการบอกเล่ารายละเอียด การรายงานแบบไม่เป็นทางการ ในสิ่งต่างๆที่กองทหาร(ซีกโลกตะวันตก) ไปประจำการยังต่างแดน โดยจะรายงานสิ่งที่พวกเขาเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นในส่วนต่างๆของโลก นอกจากนี้ยังใช้เป็นอีกช่องทางในการติดต่อกับครอบครัวของพวกเขาด้วย


•Private:
บล็อกประเภทนี้ถือเป็นบล็อกอยู่ในวงแคบ เพื่อจุดประสงค์ในการจดบันทึกส่วนตัว หรือแบ่งปันในเรื่องเฉพาะกับกลุ่มของตน อาทิแบ่งปันภาพถ่าย วิดีทัศน์ หรือข้อมูลภายในครอบครัว, ภายในองค์กร ภายในบริษัท หรือสถานศึกษาเท่านั้น


 
 

•Sports:
เป็นอีกบล็อกที่นำเสนอเรื่องราวด้านกีฬา โดยเฉพาะ อาทิ สโมสรกีฬา ที่จะมีการนำเสนอนักกีฬาที่มีผู้นิยมชมชอบ เป็นแฟนกีฬาในสโมสรหรือเฉพาะตัวได้ติดต่อ หรือการแสดงออก การแสดงความรู้สึกของแฟนกีฬา ถึงตัวนักกีฬาโดยตรง


•How-to, tips and reviews:
เป็นอีกกลุ่มของบล็อกที่มีความหลากหลาย มีผู้ทำขึ้นมาเป็นจำนวนมาก เพื่อนำเสนอเรื่องราว เทคนิค เคล็ดลับ วิธีการส่วนตัว หรือรวบรวมมาบอกเล่า เผยแพร่ แบ่งปันประสบการณ์ ในเรื่องราวต่างๆ อาทิ ในกลุ่มไอที กลุ่มเครื่องยนต์ รถยนต์ การประกอบอาหาร เกม เพลง หนังสือ ภาพยนตร์ เป็นต้น




นอกจากนี้ยังรูปแบบการแบ่งประเภทของบล็อกในกฎเกณฑ์อื่นๆอีก ลองศึกษาดูนะครับ

http://www.profkrg.com/26-types-blog-posts
http://blogambitions.com/blogs-with-highest-searches/
http://www.socialmediaexaminer.com/12-types-of-blog-posts/

http://writetodone.com/the-7-types-of-blogger-which-one-are-you/
https://blog.leadpages.net/types-of-blogs/
http://www.socialmediaexaminer.com/12-types-of-blog-posts/
http://www.problogger.net/archives/2011/09/03/52-types-of-blog-posts-that-are-proven-to-work/

Readmore...

รู้จักเรื่องของบล็อก

0 ความคิดเห็น
 

 

รู้จักบล็อกกันก่อน
บล็อก ( blog) เป็นคำรวมมาจากคำว่า เว็บล็อก (weblog) เป็นรูปแบบเว็บไซต์ประเภทหนึ่ง ซึ่งถูกเขียนขึ้นในลำดับที่เรียงตามเวลาในการเขียน ซึ่งจะแสดงข้อมูลที่เขียนล่าสุดไว้แรกสุด บล็อกโดยปกติจะประกอบด้วย ข้อความ ภาพ ลิงก์ ซึ่งบางครั้งจะรวมสื่อต่างๆ ไม่ว่า เพลง หรือวิดีโอในหลายรูปแบบได้ จุดที่แตกต่างของบล็อกกับเว็บไซต์โดยปกติคือ บล็อกจะเปิดให้ผู้เข้ามาอ่านข้อมูล สามารถแสดงความคิดเห็นต่อท้ายข้อความที่เจ้าของบล็อกเป็นคนเขียน ซึ่งทำให้ผู้เขียนสามารถได้ผลตอบกลับโดยทันที คำว่า "บล็อก" ยังใช้เป็นคำกริยาได้ซึ่งหมายถึง การเขียนบล็อก และนอกจากนี้ผู้ที่เขียนบล็อกเป็นอาชีพก็จะถูกเรียกว่า "บล็อกเกอร์"


สังคมบล็อก
สังคมบล็อก หมายถึง พื้นที่บนอินเตอร์เน็ท เพื่อให้ผู้ที่ต้องการนำเสนอบทความ สามารถแบ่งบัน เรื่องราว รูปภาพ รูปถ่าย อันส่งผลประโยชน์ แกผู้เข้ารับชม อันนี้คือสิ่งที่จำกัดความหมายของสังคมบล็อก ตั้งเป้าหมายไว้ โดยผู้ใช้ สามารถที่จะหา ผลประโยชน์จาก บทความที่ตนเอง เป็นผู้นำเสนอ โดยอาจจะมีการ นำเสนอโฆษณา พร้อมๆ กับการนำเสนอ บทความ แล้วแต่ความต้องการของผู้ใช้ อย่างอิสระ
อนึ่ง การใช้งานระบบสังคมบล็อก มีเนื้อหาของการนำเสนอ โดยจะต้องเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของ ผู้นำเสนอ ระหว่างผู้ใช้งานด้วยกัน ไม่อาจจะทำการสำเนา เอกสารดังกล่าวได้ เพียงแต่สามารถทำการลิงก์เชื่อมโยง เพื่อส่งผลโดยตรงต่อผู้ใช้งานทั่วไป ให้สามารถใช้งานระบบได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด

ความเป็นมาของบล็อก
ในความเป็นจริงแล้วบล็อกมีมาในช่วงยุคต้นๆของการมีเว็บไซต์เลยทีเดียว(ช่วงประมาณปี ค.ศ.1992) โดยบล็อกมีต้นตระกูลมาจากเว็บประเภทหนึ่งที่เรียกว่า  What’s New  ซึ่งในยุคแรกขณะนั้นยังมีเว็บไซต์จำนวนไม่มากนัก เจ้าหน้าที่ของสถาบันวิจัยนิวเคลียร์ภาคพื้นยุโรป (CERN) ได้เป็นผู้เริ่มสร้างเว็บสำหรับนำเสนอข่าวเกี่ยวกับวงการเว็บ รวมถึงแจ้งข่าวสารเว็บไซต์ที่เกิดใหม่ โดยทำในลักษณะเป็นลิงค์ชี้ไปยังเว็บไซต์นั้นๆ และมีคำอธิบายว่ามันคืออะไร มีอะไรน่าสนใจบ้าง จากนั้นก็มีผู้ทำ What’s New ในลักษณะต่างๆ มากมาย จนถึงปี ค.ศ.1997 นายจอร์น บาร์เกอร์ (Jorn Barger) เจ้าของเว็บไซต์ http://www.robotwisdom.com/ ซึ่งเป็นเว็บที่มีลักษณะเป็น บล็อก อาจกล่าวได้ว่าเป็นบล็อกรุ่นแรกๆ ก็ได้คิดคำว่า weblog ขึ้นมา


ต่อมาในปี ค.ศ.1999 ปีเตอร์ เมอร์โฮลซ์ (Peter Merholz) เจ้าของ http://www.peterme.com/ ประกาศว่า ต่อไปเขาจะอ่านคำว่า weblog ว่า “วี - บล็อก” และจะเรียกสั้น ๆ ว่า blog “บล็อก” เนื่องจากในยุคสมัยนั้น ยังมีคนใช้บล็อกจำนวนไม่มากนัก และความคิดนี้ ถือเป็นความคิดที่แปลกใหม่น่าสนใจ นับตั้งแต่นั้นมาจนถึงวันนี้ คำว่า บล็อก จึงกลายเป็นคำที่ได้รับความนิยมไปทั่ว และถูกใช้กันอย่างแพร่หลาย แม้ว่า weblog นั้นดูจะเป็นภาษาทางการมากกว่าคำว่า blog แต่ก็ยังมีผู้เรียกขาน weblog  อยู่เช่นกัน



ใน ปี ค..1999 เริ่มมีบริการช่วยสร้างบล็อกฟรี ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน ได้แก่ http://www.blogger.com/ (เวทีที่ท่านกำลังอ่าน) และ http://www.pitas.com/ ทั้งสองเว็บไซต์เปิดให้บริการแก่สมาชิก ซึ่งจะให้เครื่องมือในการlogger.comสร้างบล็อก โดยจะใช้งานเครื่องมือเหล่านี้ผ่านทางเว็บบราวเซอร์ หากใครที่มีพื้นที่จัดเก็บเว็บไซต์อยู่แล้ว ก็สามารถสร้างบล็อกแล้วนำบล็อกไปเก็บไว้ในพื้นที่จัดเก็บเว็บไซต์ของตนเองได้เลย หรือถ้าไม่มีพื้นที่เก็บเว็บไซต์ ก็สามารถฝากบล็อกไว้กับผู้ให้บริการได้อีกด้วย เมื่อมีเครื่องมือลักษณะนี้มาให้บริการ ทำให้การสร้างบล็อกเป็นเรื่องที่ง่ายมาก ๆ ผู้สร้างบล็อกเพียงแค่ใส่ข้อมูลอย่างเดียวและไม่จำเป็นต้องรู้เรื่องการสร้างเว็บก็ได้ เลยทำให้วงการบล็อกเป็นที่สนใจ และทำให้มีบล็อกใหม่ ๆ เนื้อหาที่หลากหลายเกิดขึ้นมากมาย
 

โดยปกติการสร้างบล็อก สามารถสร้างได้ง่ายผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ของผู้ให้บริการสร้าง Blog ฟรี ซึ่งจะมีเครื่องมือสนับสนุนให้ผู้สร้างเนื้อหาสามารถสร้างสรรงานเขียนได้อย่างง่ายและรวดเร็ว ปัจจุบันมีที่นิยมหลายแห่ง อาทิ http://www.blogger.com/ , http://www.wordpress.com/, เป็นต้น
สำหรับบ้านเราหก็นิยมสร้างบล็อกเป็นเครื่องมือช่วยในการประกอบธุรกิจ การค้าผ่านอิเล็กทรอนิกส์ การแลกเปลี่ยนความรู้ออนไลน์ การใช้เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลข่าวสาร อาทิ
http://bloggang.com/ http://www.oknation.net/blog/index.php และ http://gotoknow.org/

 


ลักษณะสำคัญของบล็อก
1. แสดงเนื้อหาเป็นชุด ๆ และแต่ละชุดมีวันที่ ที่บันทึกเนื้อหากำกับไว้อย่างชัดเจน

 
2. เรียงลำดับเนื้อหาตามวันที่ โดยข้อความใหม่ล่าสุดที่บันทึกเข้าไป จะถูกแสดงอยู่ด้านบนสุดของหน้าเว็บไซต์ ส่วนข้อความที่บันทึกเข้าไปก่อนหน้านั้น จะอยู่ถัดลงไปเรื่อย ๆ
 
3. มีการสะสมชุดเนื้อหาย้อนหลัง ผู้อ่านสามารถค้นหาตามวัน เดือน ปี (archive) หรือค้นหาจาก คำสำคัญ (tag) ได้
 
4. อาจอนุญาตให้ผู้อ่านสามารถแสดงความคิดเห็น (comment) ที่มีต่อเนื้อหาได้
 
5. อาจมีการจัดหมวดหมู่ของเนื้อหาออกเป็นกลุ่ม ๆ (category) เช่น บล็อกหนึ่ง ๆอาจไม่ได้มีเนื้อหาเพียงเรื่องเดียว เพราะเจ้าของบล็อกมีความสนใจในหลาย ๆ เรื่อง เพื่อให้สะดวกในการอ่าน จึงทำการแยกเป็นหลายหมวดหมู่ไว้ ตัวอย่างเช่น บันทึกประจำวัน, แนะนำเว็บ,วิเคราะห์ข่าว, วิจารณ์ภาพยนตร์ เป็นต้น
 
6. อาจมี RSS Feed เพื่อให้สะดวกในการติดตามการอัพเดทข้อมูลของบล็อกนั้น ๆและเพื่อความสะดวกในการอ่านบล็อกโดยที่ไม่ต้องเข้ามาอ่านที่บล็อกจริง ๆ
 


 
ประโยชน์ของบล็อก
ประโยชน์ของบล็อกมีมากมายหลายประการ อันได้แก่
 
1.เป็นสื่อโษณา ประชาสัมพันธ์
ถือได้ว่าบล็อคเป็นเว็บที่เจาะกลุ่มเป้าหมายของผู้คนที่ใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก การวางกลยุทธ์การตลาดในแวดวงธุรกิจไม่อาจพึ่งพาแค่ แผ่นพับ ใบปลิว หรือการลงโฆษณาตามหนังสือพิมพ์ การโฆษณาผ่านวิทยุ โทรทัศน์ ซึ่งช่องทางที่กล่าวนับวันยิ่งมีค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์สูง การใช้บล็อกเพื่อประชาสัมพันธ์ จึงเป็นอีกวิธีการที่มีค่าการลงทุนที่ต่ำ แต่สามารถส่งผลทางการตลาดที่สูงขึ้นได้ นอกจากนี้ในภาครัฐมีหลายแห่งที่ใช้บล็อกเป็นเครื่องมือ ช่องทางในการเผยแพร่ข่าวสารของหน่วยงานอีกทางหนึ่งด้วย
 
2. เป็นแหล่งให้ข้อมูลความรู้ เฉพาะเรื่อง
ปัจจุบันข่าวสารต่าง ๆ รวมถึงเทคโนโลยี มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก จนหนังสือหรือสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ล้าสมัย หรือไม่สามารถออกได้ทันตามความต้องการของผู้ที่สนใจ การใช้บล็อกเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการให้ข้อมูล ถือเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะว่าการสร้างบล็อก ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก และสามารถเขียนหรือปรับปรุงแก้ไขข้อความที่เขียนได้อย่างรวดเร็วง่ายดาย จึงมีผู้ที่มีความรู้หลายต่อหลายท่านใช้บล็อกเป็นที่เผยแพร่ความรู้ เช่น
 http://www.blognone.com/ (บล็อกที่นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ 
 http://www.oknation.net/blog/black (บล็อกวิเคราะห์ข่าวของคุณสุทธิชัย หยุ่น)

 
 
3. เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ปัจจุบันบล็อกถือเป็นช่องทางที่ใช้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้อีกทางหนึ่ง เพราะบล็อกส่วนใหญ่ มักจะอนุญาตให้ผู้อ่านแสดงความคิดเห็นของตนที่มีต่อข้อความในบล็อกนั้น ๆ ได้ ซึ่งอาจจะเป็นการให้คำแนะนำ หรือจะเป็นการแสดงความเห็นด้วย/ไม่เห็นด้วยกับข้อความในบล็อกนั้น ๆ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้เขียนบล็อกและผู้อ่านบล็อกสามารถทำให้เกิดเป็นสังคมย่อย ๆ ขึ้นมา
 
4. เป็นเวทีการเรียนรู้
นอกจากจะเป็นแหล่งข้อมูลเฉพาะเรื่องแล้ว สถานศึกษา หรือครู และบุคลากรทางการศึกษา ยังใช้บล็อก เป็นอีกกลไก หรือเครื่องมือในการเผยแพร่ความรู้เนื้อหา เพิ่มเติมจากหลักสูตร หรือเป้นเวทีสำหรับให้ลูกศิษย์เข้ามาแสดงความคิดเห็น หรือตอบคำถามต่างๆ

Readmore...
19 ก.พ. 2559

การเพิ่ม Code วัน เวลา ปฎิทิน ประดับในบล็อก (2)

0 ความคิดเห็น
 
หลังจากนำ Code Script เพื่อเพิ่ม วัน เวลา และปฎิทิน มาให้ได้แต่งเติมไปแล้ว ใน http://mediathailand-blogger.blogspot.com/2016/02/blogger-19-code-1.html ซึ่งจะเป็น Code script แบบ HTML5 ล้วนๆ เพราะแบบ Flash อาจจะไม่สามารถ แสดงข้อมูล ออกมาหรือ ไม่สมบูรณ์ โดยเฉพาะ Smartphone Android OS ได้ ในบทเรียนนี้ จึงแนะนำการใช้ภาษา code ที่เป็น HTML 5  มาใช้แทน ซึ่งเป็น code สำเร็จรูปเรียบง่าย แต่ ดูดี ก่อนอื่นหากท่านที่ยังไม่รู้วิธีทำ ก็ขอทบทวนการติดตั้งกันอีกที ดังนี้

การสร้างงานต้องทำผ่าน แดชบอร์ด ตรงส่วน Layout หรือ รูปแบบ ซึ่งมีอยู่ใน Blogger เอง โดยมีวิธีการ ดำเนินการ ดังนี้

1.เปิด แดชบอร์ด ไปที่ Setting หรือส่วนการตั้งค่า

2.เลือกรายการ Layout หรือ รูปแบบ ที่ฝั่งซ้าย ดังภาพด้านล่าง เมื่อได้ Layout Page มาแล้ว ให้กำหนดตำแหน่งที่ท่านจะวาง ส่วนที่ใช้วาง code script

3. เมื่อกำหนดบริเวณได้แล้ว ให้คลิกเลือกรายการ Add a Gadget หรือ เพิ่ม Gadget ที่อยู่ในบริเวณนั้น ซึ่งจะเกิดหน้าต่าง Add a Gadget  เลือกหารายการ ที่ชื่อว่า HTML/Java Script  คลิกเลือกที่เครื่องหมาย +

 
4. จะเกิดกรอบหน้าต่างสำหรับวาง code script ดังภาพ
5. ทำการตั้งชื่อ และนำ code ที่ต้องการวางลงในพื้นที่เขียน script
 
6. คลิกปุ่ม บันทึก แล้วปิดหน้าต่างได้
 
7. ตรงตำแหน่งที่กำหนดไว้ ก็จะมีนาฬิการ หรือ ปฎิทิน แสดงผล ตามที่กำหนดไว้
 
 
 
หมายเหตุ :  หากต้องการแสดงผล ให้อยู่ตรงกลาง ให้เพิ่ม คำสั่ง Tag Center ลงไป
 

<center> ................ส่วนที่เป็น code script..................... </center>

 
 
 
ต่อไปนี้เรามาดูรูปแบบพร้อม Code คำสั่งในแต่ละแบบกัน เป็นชุดที่ 2
 
 


code ที่ใช้
< iframe style="overflow:hidden;border:0;margin:0;padding:0;width:170px;height:50px;"src="http://www.clocktag.com/html5/dt161.html"></iframe>

.................................................................
 




code ที่ใช้
< iframe style="overflow:hidden;border:0;margin:0;padding:0;width:170px;height:50px;" src="http://www.clocktag.com/html5/dt162.html"></iframe>

.................................................................




code ที่ใช้
< iframe style="overflow:hidden;border:0;margin:0;padding:0;width:170px;height:50px;" src="http://www.clocktag.com/html5/dt163.html"></iframe>

.................................................................





code ที่ใช้
< iframe style="overflow:hidden;border:0;margin:0;padding:0;width:190px;height:50px;" src="http://www.clocktag.com/html5/dt172.html"></iframe>

.................................................................






code ที่ใช้
< iframe style="overflow:hidden;border:0;margin:0;padding:0;width:190px;height:50px;" src="http://www.clocktag.com/html5/dt173.html"></iframe>

.................................................................





code ที่ใช้
< iframe style="overflow:hidden;border:0;margin:0;padding:0;width:100px;height:100px;" src="http://www.clocktag.com/html5/m192.html"></iframe>

.................................................................





code ที่ใช้
< iframe style="overflow:hidden;border:0;margin:0;padding:0;width:100px;height:100px;" src="http://www.clocktag.com/html5/m193.html"></iframe>

.................................................................






code ที่ใช้
< iframe style="overflow:hidden;border:0;margin:0;padding:0;width:100px;height:100px;" src="http://www.clocktag.com/html5/m196.html"></iframe>

.................................................................






code ที่ใช้
< iframe style="overflow:hidden;border:0;margin:0;padding:0;width:120px;height:120px;" src="http://www.clocktag.com/html5/t21.html"></iframe>

.................................................................





code ที่ใช้
< iframe style="overflow:hidden;border:0;margin:0;padding:0;width:120px;height:120px;" src="http://www.clocktag.com/html5/t22.html"></iframe>

.................................................................





code ที่ใช้
< iframe style="overflow:hidden;border:0;margin:0;padding:0;width:120px;height:120px;" src="http://www.clocktag.com/html5/t23.html"></iframe>

.................................................................





code ที่ใช้
< iframe style="overflow:hidden;border:0;margin:0;padding:0;width:120px;height:120px;" src="http://www.clocktag.com/html5/t12.html"></iframe>

.................................................................
 

code ที่ใช้
< iframe style="overflow:hidden;border:0;margin:0;padding:0;width:120px;height:120px;" src="http://www.clocktag.com/html5/t13.html"></iframe>

.................................................................





code ที่ใช้
< iframe style="overflow:hidden;border:0;margin:0;padding:0;width:120px;height:120px;" src="http://www.clocktag.com/html5/t11.html"></iframe>


.................................................................
ข้อควรระวัง
อย่านำ code นี้ ไปใช้ในหลายที่นัก เพราะ อาจจะทำให้การแสดงผล ช้าลง
Readmore...

แบบประเมินความพึงพอใจ

++ ความคิดเห็นจากเพื่อน Facebook

สาระ เนื้อหา เรื่องราว ที่ปรากฎอยู่ในบล็อกแห่งนี้ จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมผลงาน แนวคิด จากการศึกษาเรียนรู้ และประสบการณ์ในการทำงาน รวมถึงการนำมาจากแหล่งข้อมูลอื่น(ซึ่งจะแจ้ง links ต้นทาง) นำมาเผยแพร่ให้กับท่านที่สนใจ ผ่านช่องทางและเวทีบล็อกแห่งนี้ หากท่านต้องการที่จะแนะนำ หรือแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ในการจัดทำบล็อกความรู้นี้ ติดต่อพูดคุย(ฝากข้อความ) ได้นะครับ
ขอบคุณที่กรุณาเข้าเยี่ยมชม
mediathailand